ประเพณีเข้าพรรษามีความเป็นมาอย่างไร

Posted By on September 24, 2012

ประเพณีเข้าพรรษามีความเป็นมาอย่างไร

 เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา (“พรรษา” แปลว่า ฤดูฝน, “จำ” แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา(วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย

สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย

ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตรฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า “บวชเอาพรรษา”

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย

ความสำคัญ

ความสำคัญและประโยชน์ของการเข้าพรรษา

  1. ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
  2. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 – 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
  3. เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง วันออกพรรษา
  4. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
  5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา

ประเพณีถวายเทียนพรรษา

เทียนพรรษาในปัจจุบันใช้ประโยชน์เพียงจุดบูชาพระพุทธปฏิมา ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาพระธรรมเหมือนในอดีตอีกแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันเริ่มมีชาวพุทธนำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างไปถวายแก่พระสงฆ์แทนเทียนพรรษาซึ่งจะให้ประโยชน์มากกว่าใช้จุดบูชาเท่านั้น

มีประเพณีหนึ่งที่เนื่องด้วยวันเข้าพรรษาและจัดเป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมา ก็คือ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา สำหรับให้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด 3 เดือน และเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นงานประเพณี “ประกวดเทียนพรรษา” ของแต่ละจังหวัดโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

การถวายเทียนเพื่อจุดตามประทีปเป็นพุทธบูชานั้น มาจากอานิสงส์การถวายเทียนเพื่อจุดเป็นพุทธบูชา ที่ปรากฏความในพระไตรปิฎกและในคัมภีร์อรรถกถา ว่าพระอนุรุทธะเถระ เคยถวายเทียนบูชาทำให้ได้รับอานิสงส์มากมาย รวมถึงได้เป็นผู้มีจักษุทิพย์ (ตาทิพย์) ด้วย ด้วยการพรรณาอานิสงส์ดังกล่าว อาจทำให้ชาวพุทธนิยมจุดประทีปเป็นพุทธบูชามานานแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าการทำเทียนพรรษาในประเทศไทยถวายเริ่มมีมาแต่สมัยใด แต่ปรากฏความในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ที่พรรณาการบำเพ็ญกุศลในช่วงเข้าพรรษาว่ามีการถวายเทียนพรรษาด้วย

ในประเทศไทย การถวายเทียนเข้าพรรษาจัดเป็นพิธีใหญ่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยรัตนโกสินทร์การถวายเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญ โดยจะเรียกว่าพุ่มเทียน มีการพระราชทานถวายพุ่มเทียนรวมพึงโคมเพื่อจุดบูชาตามอารามต่าง ๆ ทั้งในพระนครและหัวเมือง ซึ่งพิธีนี้ยังคงมีมาจนปัจจุบัน

การถวายเทียนพรรษาโดยแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ นั้น มีมาแต่โบราณ เดิมเป็นประเพณีราชสำนักดังที่ปรากฏในเทียนรุ่งเทียนหลวงตามพระอารามต่าง ๆ สำหรับเทียนแกะสลักที่ปรากฏว่ามีการจัดทำประกวดกันเป็นเรื่องราวใหญ่โตในปัจจุบันนั้น พึ่งเริ่มมีเมื่อปี พ.ศ. 2483 ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยนายโพธิ์ ส่งศรี ได้เริ่มทำแม่พิมพ์ปูนซีเมนต์เพื่อหล่อขี้ผึ้งเป็นทำลวดลายไทยไปประดับติดพิมพ์บนเทียนพรรษา นับเป็นการจัดทำเทียนพรรษาแกะสลักของช่างราษฏร์เป็นครั้งแรก และนายสวน คูณผล ได้ทำลวดลายนูนสลับสีต่าง ๆ เข้าประกวดจนชนะเลิศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2497

จึงเริ่มมีการทำเทียนพรรษาติดพิมพ์ประกวดแบบพิศดารโดยนายประดับ ก้อนแก้ว คือทำเป็นรูปพุทธประวัติติดพิมพ์จนได้รับรางวัลชนะเลิศติดต่อกันมาหลายปี จนปี พ.ศ. 2502 นายคำหมา แสงงาม ช่างแกะสลัก ได้ทำเทียนพรรษาแบบแกะสลักมาประกวดเป็นครั้งแรกจนได้รับรางวัลชนะเลิศ จากนั้นจึงได้มีการแยกประเภทการประกวดต้นเทียนเป็นสองแบบคือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก จนในช่วงหลังปีพ.ศ. 2511 นายอุตสาห์ และนายสมัย แสงวิจิตร ได้เริ่มมีการจัดทำเทียนพรรษาขนาดใหญ่โต ทำเป็นหุ่นและเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของเทียนพรรษาขนาดใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบัน

ในอดีต การหล่อเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพิธีสำคัญที่ชาวพุทธจะมารวมตัวกันนำขี้ผึ้งมาหลอมรวมเป็นแท่งเทียนเพื่อถวายแก่พระสงฆ์ แต่ในปัจจุบันชาวพุทธส่วนใหญ่จะนิยมการซื้อหาเทียนพรรษาจากร้านสังฆภัณฑ์ โดยบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนไปซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างถวายแก่พระสงฆ์แทนด้วย ซึ่งนับเป็นการปรับเปลี่ยนที่ได้ประโยชน์แก่พระสงฆ์โดยตรง เพราะปัจจุบันไม่ได้มีการนำเทียนมาจุดเพื่ออ่านหนังสืออีกแล้ว พระสงฆ์คงนำเทียนไปจุดบูชาตามอุโบสถวิหารเท่านั้น

ความเป็นมาประเพณีสงกรานต์

Posted By on September 24, 2012

ความเป็นมาประเพณีสงกรานต์

 เป็นประเพณีเดือน 5 ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

วันที่ของเทศกาลเดิมกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน สงกรานต์ตกอยู่ในช่วงที่ร้อนที่สุดของปีในประเทศไทย คือ ปลายฤดูแล้ง จนถึง พ.ศ. 2431 วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นจุดเริ่มต้นของปีในประเทศไทย หลังจากนั้นวันที่ 1 เมษายนถูกใช้เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483

สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี แต่ในปัจจุบัการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามขอประเพณีในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน

 

พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ

 

การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน “กลับบ้าน” ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ

 

ตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีจนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปี ก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร อยู่มาวันหนึ่งพอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ
พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐี จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งนาม “ธรรมบาล” ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า ธรรมบาลกุมาร และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัยต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า
ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วันทางธรรมบาลกุมารก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล เขาคิดว่า ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน
ธรรมบาลกุมารก็ได้ทราบเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้ครั้นรุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหมก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้นนางทุงษะก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศจากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที
แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า
เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต (เลือด) พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังพระยาวราหะ (หมู)ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มัณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา)ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา
พระหัตถ์ขวาทรงของ้าว พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังพระยาคชสาร (ช้าง)ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย)ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)สำหรับความเชื่อทางล้านนานั้นจะมีว่าวันอาทิตย์ ชื่อ นางแพงศรีวันจันทร์
ชื่อ นางมโนราวันอังคาร ชื่อ นางรากษสเทวีวันพุธ ชื่อ นางมันทะวันพฤหัส ชื่อ นางกัญญาเทพวันศุกร์ ชื่อ นางริญโทวันเสาร์ ชื่อ นางสามาเทวีกิจกรรมในวันสงกรานต์
การทำบุญตักบาตร ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญแบบนี้มักจะเตรียมไว้ล่วงหน้า นำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่รวมสำหรับทำบุญ ในวันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะมีการก่อพระทรายอันเป็นประเพณีด้วย

การสรงน้ำพระการรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำที่รดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดาการสรงน้ำพระจะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด และบางที่จัด สรงน้ำพระสงฆ์ ด้วยบังสุกุลอัฐิ กระดูกญาติผู้ใหญ่ที่ตายแล้ว มักก่อเป็นเจดีย์ แล้วนิมนต์พระไปบังสุกุลการรดน้ำผู้ใหญ่ คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้ใหญ่มักจะนั่งลงแล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด ถ้าเป็นพระก็จะนำผ้าสบงไปถวายให้ท่านผลัดเปลี่ยนด้วย หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง ผ้าขาวม้าไปให้การดำหัว ก็คือการรดน้ำนั่นเอง แต่เป็นคำเมืองทางภาคเหนือ

การดำหัวเรียกกันเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ ผู้สูงอายุ คือการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีผ้าขนหนู มะพร้าว กล้วย และ ส้มป่อยการปล่อยนกปล่อยปลา ถือเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายในวันขึ้นปีใหม่การนำทรายเข้าวัด ทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาภ ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด

ประเพณีการขึ้นบ้านใหม่มีวิธีการอย่างไร

Posted By on September 24, 2012

ประเพณีการขึ้นบ้านใหม่มีวิธีการอย่างไร

เมื่อไม่นานมานี้บ้านผมก็ทำการขึ้นบ้านใหม่เหมือนกันนะครับเเต่ ไม่ได้ทำอะไรมากมายตามพิธีกรรมที่เค้าทำกันหนะครับ ก็เชิญพระมาสวด เเละ เลี้ยงอาหารเพนเท่านั้นเองครับ เเต่ก็ดีนะครับนานๆ เราทำให้ผีบ้านผีเรือนก็ดีเหมือนกันครับ ส่วนพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่เเบบถูกหลักเนี่ย
 เป็นประเพณีเก่าแก่พิธีหนึ่ง ที่ชาวบ้านแต่ละท้องถิ่นได้ถือปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณกาล แต่ละท้องถิ่นอาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง ในรายละเอียดปลีกย่อย แต่หลักใหญ่ ๆ แล้วจะไม่แตกต่าง
  เมื่อต้นปีที่ผ่านผู้เขียนได้มีโอกาสไปร่วมงานขึ้นบ้านใหม่ของญาติผู้ใหญ่ฝ่ายภรรยา ซึ่งพิธีจะมีแตกต่างจากที่เคยเห็นมาบ้าง น่าจะนำมาเผยแพร่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามนี้ไว้ ให้คงอยู่กับชาวอีสานใต้ของเราสืบไป
พิธีทำบุญขึ้บ้านใหม่  เป็นพิธีทำบุญงานมงคลอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการปรารภเหตุดี เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้านและลูกหลานที่จะได้เข้าพักอาศัย มีความอยู่เย็นเป็นสุข เจริญก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ ซึ่งก่อนจะทำบุญเจ้าภาพจะต้องหาฤกษ์ยาม เพื่อให้รู้ว่าวันใดเหมาะที่จะทำพิธี เมื่อได้วันแล้วก็จะนิมนต์พระ เชิญแขก และพ่อพราหมณ์ที่จะมาทำพิธี อีกทั้งเตรียมสิ่งของเครื่องใช้
ในวันงานดังกล่าง เมื่อถึงเวลา พ่อพราหมณ์ ใส่ชุดสีขาว สพายย่าม ถือไม้เท้าและกั้งร่ม นำขบวนเจ้าของบ้าน ลูก หลาน และแขกแห่รอบบ้านทักษิณาวัฎ ตามขบวนด้วยหาบเงิน หาบทอง เจ้าบ้านเชิญพระพุทธรูปประจำบ้านนำหน้า บางคนถือเสื่อ หมอน และผลหมากรากไม้ ตามขบวนด้วยความสะนุกสนาน ตามด้วยเสียงโห่ร้องกันเป็นระยะ ๆ
เมื่อครบ 3 รอบแล้ว เมื่อมาถึงประตูเข้าบ้าน พ่อพรามหณ์จะเดินเข้าประตูบ้าน ญาติผู้ใหญ่เจ้าของบ้านมายืนขวางประตูไม่ให้เข้า ทำพิธีสอบถามกันก่อน ตามประเพณี ซึ่งในวันนั้น ได้มีการตั้งคำถามดังนี้
คำถาม : พวกนี้หามกระดอน คอนกะต่า ขนสิ่งขนของมาแต่ใส น่อ ?
คำถาม : ข่า ทาส หญิง ชายได้มาบ่น่อ ?
คำถาม : ช้างม้า วัว ควาย ได้มาบ่นอ ?
คำถาม : ของอยู่ ของกินเป็นเนื้อเส็กเอ็กลายได้มาบ่นอ ?

คำถาม : แหลูกทอง มองลูกกั่ว ได้มาบ่อนอ คั่นสิมาค้ำ มาคูณให้ลูกหลาน อยู่ดีมีแฮง ก็เชิญขึ้นมาถ่อน
คำถาม : คั่นสิมาค้ำมาคูณ ให้อยู่ดีมีแฮง ความเจ็บบ่อให้ได้ ความไข้บ่ให้มี เพิ่นได้หยังมาแนนอ ?
หลังจากเข้ามาในบริเวณบ้านแล้ว พ่อพราหมณ์ก็จะทำพิธีบรวงสรวงเทวดา -แม่ธรณี ด้วยอาหารคาว 9 อย่าง อาหารหวาน 9 อย่าง และผลไม้ 9 อย่าง อาหารคาว 9 อย่าง  ได้แก่ นึ่งปลาช่อน-ปลานิล,หมูย่าง,แกงเผ็ดไก่หรือหมู,ลาบ,ไข่พะโล้,ขาหมูพะโล้,หมกปลา,แกงปลา และไก่ย่าง

อาหารหวาน 9 อย่าง  ได้แก่ ลอดช่อง,ขนมชั้นหรือตะโก้,ทองหยอด,ขนมปัง,แซนวิส,กล้วยแขก,กล้วยบวชชี,ขนมหม้อแกง และขนมปังชนิดอื่น ๆ

ผลไม้ 9 อย่าง  ได้แก่ มะพร้าวอ่อน,กล้วยน้ำหว้า 1 หวี,ขนุน,ฝรั่ง,ส้มเขียวหวาน,ละมุด,มะขาม,ลำใย และชมพู่

เสร็จพิธีทางพราหมณ์แล้ว ก็จะทำพิธีทางพระพุทธศาสนา เมื่อพระสงฆ์เข้ามาในบ้านแล้ว เจ้าภาพหรือญาติก็จะกราบพระ ประเคนบาตรทำน้ำมนต์ น้ำดื่ม และเครื่องดื่มต่าง ๆ พิธีกรก็จะเชิญเจ้าภาพจุดธูปเทียน กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล หลังจากรับศีลแล้ว พิธีกรจะกล่าวคำอาราธนาพระปริตร เสร็จแล้วพระสงฆ์ก็จะเจริญพระพุทธมนต์

เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เสร็จแล้ว เจ้าภาพก็เตรียมอาหาร คาวหวานมาพร้อม แล้วกล่าวคำถวายภัตตาหาร หลังจากพระฉันภัตตาหารเสร็จเจ้าภาพก็เตรียมจตุปัจจัยไทยทานและถวายพระสงฆ์ ๆ จะกล่าวคำอนุโมทนา ประพรหมน้ำมนต์ เจิมบ้าน และรดน้ำมนต์ตามเสา และมุมบ้าน เพื่อเป็นสิริมงคลแล้วกราบลาพระเป็นเสร็จพิธีหลังจากพระสงฆ์เดินทางกลับแล้ว  ก็จะทำพิธีสู่ขวัญเจ้าของบ้านและลูกหลาน โดยจะมีพานบายศรีข้าวตอกดอกไม้  และด้ายมงคล โดยพ่อพรามหณ์จะร่ายคาถาเป็นภาษาลาว อันเป็นการเชื้อเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย มาคุ้มครองปกปักรักษาบ้านเรือน และเจ้าของบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข พอเสร้จพิธีแล้ว พ่อพราหมณ์ก็จะนำผูกข้อมือเจ้าภาพ และลูกหลาน พร้อมทั้งอวยพร และช่วยงานไปพร้อมกัน และตามด้วยแขกและญาติ ก็จะทะยอยมาผูกแขนอวยพรกันจนครบทุกคน

 สำหรับสิ่งของที่แขกจะนำมาร่วมงาน  นอกจากเงินแล้วก็จะมีหมอน เสื่อ ฟูก และสิ่งของมีค่าอื่น ๆ เพื่อมอบให้กับเจ้าภาพ ไว้ใช้ประจำบ้านส่วนสิ่งของที่เจ้าภาพนำมาขึ้นบ้านใหม่ในพิธีเพื่อเป็นสิริมงคลได้แก่ตุ่มใส่น้ำให้เต็ม หมอน เสื่อ ข้าวสาร ข้าวเปลือก อ้อย กล้วย และไม้มงคลต่าง ๆ
 การนิมนต์พระในพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ นิยมนิมนต์พระ 5 รูป 7 รูป หรือ 9 รูป ส่วนมากจะนิยม 9 รูป เพราะถือว่าเป็นเลขมงคล

พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นประเพณีที่สำคัญ เราชาวอีสาน ควรจะอนุรักษ์ และสืบทอดกันชั่วลูกชั่วหลาน เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข มีเอกลักษณ์ และคงความเป็นลูกอีสานสืบไป

พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่การเตรียมการที่บูชา ( หิ้งบูชาหรือโต๊ะหมู่บูชา หมู่ ๕ , ๗, หรือหมู่ ๙ )พระพุทธรุปประจำบ้านหนึ่งองค์แจกันดอกไม้ ๑ คู่ เชิงเทียน ๑ คู่ กระถางธูป ๑ ที่ ( ธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม )ภาชนะใส่เงิน ทอง ข้าวสาร  และน้ำ ดูพองามเครื่องพิธีสงฆ์และเครื่องทำบุญต่างสำหรับพระภูมิเจ้าที่ ( ตั้งไว้บนโต๊ะ ปูผ้าขาวหน้าบ้านในที่ ๆเหมาะสมทรายเสกข้าวตอกดอกไม้การปฏิบัติเมื่อถึงเวลาฤกษ์ เจ้าของบ้าน  อุ้มอัญเชิญพระพุทธรูป ( หันหน้าพระเข้าทางบ้าน )
เดินเข้าบ้านด้วยอาการสำรวม รำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เพื่อความเป็นสิริมงคล ติดตามด้วยผู้ใกล้ชิดถือเครื่องบูชาสักการะ ภาฃนะใส่เงิน ทอง ข้าวสาร และน้ำอัญเชิญพระพุทธรูปตั้งบนหิ้ง หรือ โต๊ะหมู่บูชา และวางภาชนะใส่เงิน ทอง ข้าวสาร และน้ำ ข้าง ๆโต๊ะหมู่บูชาจุดธูปเทียนบุชาพระ อธิษฐานเพื่อความสุขในชีวิต แล้วกราบ ๓ ครั้งอาราธนาศีลประธานสงฆ์ให้ศีลอาราธนาพระปริตรพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จุดเทียนน้ำมนต์ เมื่อพระสวดถึงบท ” อเสวนา ….”ประเคนภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ( เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว )จุดธูปเทียน บูชาพระภูมิเจ้าที่ อธิษฐานเพื่อให้คุ้มครองป้องกันภัย และเพื่อความเป็นสิริมงคลตลอดไป ( เมื่อจุดธูปหมดดอก ลาพระภูมิเจ้าที่ได้ )ประเคนไทยธรรม ( เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วเรียบร้อยแล้ว )กรวดน้ำ – รับพรประธานสงฆ์ ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ( พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา )
เจิมประตูบ้าน ประตูเรือน ประตูห้องนอน โปรยทรายเสก ข้าวตอกดอกไม้รอบๆ บ้านหมายเหตุ  ถ้าเป็นพิธีขึ้นบ้านใหม่โดยย่อ ปฏิบัติดังนี้:-เจ้าของบ้านอุ้มอัญเชิญพระพุทธรูปประจำบ้านเดินเข้าบ้านอัญเชิญพระพุทธรูปตั้งบนหิ้งหรือโต๊ะหมู่บูชาที่เตรียมไว้วางเครื่องสักการะจุดธูปเทียนบูชาพระ อธิษฐานเพื่อความเป็นสิริมงคล แล้วกราบ ๓ ครั้งบูชาพระภูมิเจ้าที่นำสิ่งของอื่นๆ ขึ้นบ้านตามสะดวก ( จะนิมนต์พระมา ๑ รูป เพื่อประพรมน้ำพระพุทธมนต์และโปรยทรายเสกให้ก็ได้ )

ความเป็นมาวันลอยกระทงมีความสำคัญอย่างไร

Posted By on September 24, 2012

ความเป็นมาวันลอยกระทงมีความสำคัญอย่างไร

วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา “มักจะ” ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายนตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ “กระทง” จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย
ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น

โคมลอยยี่เป็งภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า “ลอยโคม” หรือ “ว่าวฮม” หรือ “ว่าวควัน” ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)จังหวัดเชียงใหม่ มีประเพณี”ยี่เป็ง”เชียงใหม่ ในทุกๆปีจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา และมีการปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้าจังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า “กระทงสาย”จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน

การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียงภาคอีสาน ในอดีตมีการเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคอีสานว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองซึ่งจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป เช่นจังหวัดร้อยเอ็ด มีชื่องานประเพณีว่า “สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป” ตามภาษาถิ่นมีความหมายถึงการขอขมาพระแม่คงคา ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง การประกวดประทีปโคมไฟและกระทงอันสวยงาม มีการจำลองแห่หัวเมืองสาเกตุนครทั้ง11 หัวเมืองจังหวัดสกลนคร ในอดีตจะมีการลอยกระทงจากกาบกล้วย ลักษณะคล้ายกับการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียกงานนี้ว่าเทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน สิบสองเพ็งไทสกลจังหวัดนครพนม
จะตกแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า “ไหลเรือไฟ”โดยเฉพาะที่จังหวัดนครพนมเพราะมีความงดงามและอลังการที่สุดในภาคอีสานภาคกลาง มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัดกรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง สี เสียง อย่างงดงามตระการตาภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกันนอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา

ความเป็นมาประเพณีผีตาโขน

Posted By on September 24, 2012

ความเป็นมาประเพณีผีตาโขน

ไทเลย เป็นชื่อเรียกคนเมืองเลย ในประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า คนเมืองเลยคือกลุ่มชนที่อพยพจากชายแดนตอนเหนืออาณาจักรสุโขทัย ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากไทหลวงพระบาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเซไล (บ้านทรายขาว อำเภอวังสะพุง ปัจจุบัน)
ในปี พ.ศ. 2396 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านแห่ (บ้านแฮ่ปัจจุบัน) ได้ตั้งบ้านเรือนเรียกว่าเมืองเลย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมืองเลยก็รวมตัวกันเป็นเมืองใหญ่ โดยการรวมตัวของ อำเภอกุดป่องอำเภอท่าลี่ ซึ่งขึ้นกับมณฑลอุดร อำเภอด่านซ้าย ซึ่งขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก เมืองเชียงคาน ซึ่งขึ้นกับเมืองพิชัย อำเภอต่าง ๆ เหล่านี้จึงโอนขึ้นกับเมืองเลยทั้งหมดตั้งแต่ พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา
ต้นกำเนิดผีตาโขน
ที่มานั้นไม่ชัดเจน แต่กล่าวกันว่าเป็นประเพณีที่ใกล้เคียงกับการบูชาบรรพบุรุษของอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง (ในอดีตแนวเขตแดน ด่านซ้าย เชียงคาน และหล่มเก่า เป็นส่วนหนึ่งในการปกครองของอาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง) ในอีกที่มาหนึ่งกล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่า กลับสู่เมืองบรรดาผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง เรียกกันว่า “ผีตามคน” หรือ “ผีตาขน” จนกลายมาเป็น “ผีตาโขน” อย่างในปัจจุบัน
ชนิดของผีตาโขน
ผีตาโขน ในขบวนแห่จะแยกเป็น 2 ชนิดคือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก
ผีตาโขนใหญ่ ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่าประดับตกแต่งรูปร่างหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เวลาแห่ คนเล่นจะต้องเข้าไปอยู่ข้างในตัวหุ่น แต่ละปีจะทำผีตาโขนใหญ่เพียง 2 ตัว คือผีตาโขนชาย1ตัวและหญิง1ตัว สังเกตจากเครื่องเพศปรากฏชัดเจนที่ตัวหุ่น ผู้มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่จะมีเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เพราะคนอื่นไม่มีสิทธิ์ทำ การทำก็ต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อน ถ้าได้รับอนุญาตแล้วต้องทำทุกปีหรือทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี
ผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนเล็กเป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงชาย มีสิทธิ์ทำและเข้าร่วมสนุกได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน
การแต่งกายผีตาโขน

ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ เครื่องแต่งกายของผีตาโขน ส่วนใหญ่มักประกอบด้วย

ส่วนหัวหรือที่เรียกว่าหน้ากากนั้น ทำด้วย “หวด” หรือภาชนะที่ใช้นึ่งข้าวเหนียว ซึ่งเป็นส่วนด้านบนดูคล้ายหมวก ส่วนหน้านั้นทำจากโคนก้านมะพร้าว นำมาตัดปาดให้เป็นรูปหน้ากากและเจาะช่องตา จมูกนั้นทำจากไม้เนื้ออ่อน แกะให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของผู้สร้างสรรค์ โดยทำเป็นลักษณะยาวแหลมคล้ายงวงช้าง ส่วนเขานั้นทำจากปลีมะพร้าวแห้ง โดยนำส่วนประกอบต่าง ๆ มาเย็บติดเข้าไว้ด้วยกัน และทาสีสันวาดลวดลายไปบนด้านหน้าของหน้ากากนั้น ๆ หลังจากนั้นจะเย็บเศษผ้าติดไว้บริเวณด้านบน(หลัง) เพื่อให้คลุมส่วนคอของผู้ใส่ไปจนถึงไหล่
ด้านเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย นั้น เป็นชุดที่ทำจากเศษผ้านำมาเย็บติดกัน และมี “หมากกะแหล่ง” หรือกระดิ่ง (คล้ายกับที่แขวนคอโค, กระบือ) แขวนผูกไว้บริเวณเอว เพื่อให้เกิดเสียงดังเป็นจังหวะเวลาเดิน และส่ายสะโพก
ส่วนประกอบสุดท้าย คือ ดาบหรือง้าว ที่จะทำจากไม้เนื้ออ่อน ในขบวนแห่จะประกอบไปด้วยการร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน
การละเล่นผีตาโขน

เนื่องจากงานประเพณีผีตาโขนเป็นงานบุญใหญ่ซึ่งเรียกกันว่างานบุญหลวง จัดขึ้นที่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย โดยมีการละเล่นผีตาโขน มีการเทศน์มหาชาติ มีการทำบุญพระธาตุศรีสองรักและงานบุญต่างๆเข้ามาผสมอยู่รวม ๆ กัน จึงมีการจัดงานกัน 3 วัน

วันแรก เริ่มพิธีตอนเช้า 04.00-05.00 น. คณะแสนหรือข้าทาสบริวารของเจ้าพ่อกวนจะนำอุปกรณ์ มีด ดาบ หอก ฉัตร พานดอกไม้ ธูปเทียน ขันห้าขันแปด(พานดอกไม้ 5 คู่ หรือ 8 คู่) ถือเดินนำขบวนไปที่ริมแม่น้ำหมัน เพื่อนิมนต์พระอุปคุตต์ พระผู้มีฤทธานุภาพมาก และมักเนรมิตกายอยู่ในมหาสมุทร เพื่อป้องกันภัยอันตราย และให้เกิดความสุขสวัสดี เมื่อถึงแล้วผู้อันเชิญต้องกล่าวพระคาถาและให้อีกคนลงไปในน้ำ
งมก้อนหินใต้น้ำขึ้นมา ถามว่า “ใช่พระอุปคุตต์หรือไม่” ผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่งตอบว่า “ไม่ใช่” พอก้อนหินก้อนที่ 3 ให้ตอบว่า “ใช่ นั่นแหละพระอุปคุตต์ที่แท้จริง” เมื่อได้พระอุปคุตต์มาแล้ว ก็นำใส่พาน แล้วนำขบวนกลับที่หอพระอุปคุตต์ ทำการทักขิณาวัฏ 3 รอบ มีการยิงปืนและจุดประทัด ซึ่งช่วงเวลานั้นบรรดาผีตาโขนที่นอนหลับหรืออยู่ตามที่ต่างๆก็จะมาร่วมขบวนด้วยความยินดีปรีดา เต้นรำ เข้าจังหวะกับเสียงหมากกระแร่ง ซึ่งเป็นกระดิ่งผูกคอวัวหรือกระดิ่งให้ดังเสียงดัง
วันที่สอง เป็นพิธีแห่พระเวส ในขบวนประกอบด้วย พระพุทธรูป 1 องค์ พระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่หามตามด้วย เจ้าพ่อกวน นั่งอยู่บนกระบอกบั้งไฟ ท้ายขบวนเป็นเจ้าแม่นางเทียม กับบริวาร ชาวบ้าน และเหล่าผีตาโขน เดินตามเสด็จไปรอบเมือง ก่อนตะวันตกดิน สำหรับคนที่เล่นเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกายผีตาโขนใหญ่ออกให้หมดและนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยากและสิ่งเลวร้ายไป รอจนปีหน้าฟ้าใหม่แล้วค่อยทำเล่นกันใหม่
วันที่สาม เป็นการรวมเอางานบุญประเพณีประจำเดือนต่างๆของปีมารวมกันจัดในงานบุญหลวง ประชาชนจะมานั่งฟังเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ ที่วัดโพนชัย เพื่อเป็นการสร้างกุศลและเป็นมงคลแก่ชีวิต
งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ถือเป็นงานที่แสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอันดีงามที่เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

ปลัดขิกช่วยอะไรได้บ้าง

Posted By on September 24, 2012

ปลัดขิกช่วยอะไรได้บ้าง

  ปลัดขิกหรือขุนเพ็ดจัดเป็นเครื่องรางของขลังที่ได้รับความนิยมอีกอย่างหนึ่งของคนไทย ปลัดขิกส่วนมากแกะสลักมาจากไม้ที่เชื่อกันว่าเป็นไม้มงคล หรือบางทีอาจทำจาก หิน ทองเหลือง ทองแดง กัลปังหา เขา งา เขี้ยว ของสัตว์ แกะสลักเป็นรูปร่างเหมือนอวัยวะเพศชายแต่ไม่มีหนังหุ้มปลายอวัยวะ มีขนาดต่าง ๆ กันและยาวพอเหมาะกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง เมื่อทำการแกะสลักแล้วก่อนนำมาบูชาเป็นเครื่องรางของขลังจะต้องทำการปลุกเสกโดยผู้มีความรู้ด้านไสยศาสตร์ หรือพระภิกษุ ซึ่งหากทำการปลุกเสกด้วยพระภิกษุเชื่อกันว่าจะได้รับพระพุทธคุณมาด้วย ใน
    ปัจจุบันจึงพบว่าปลัดขิกส่วนใหญ่มาจากการปลุกเสกของพระภิกษุ คนไทยส่วนใหญ่เชื่อกันว่าให้คุณแก่ผู้บูชา ส่วนชาวต่างชาติก็ทำเป็นของสะสมส่วนชื่อเรียก ปลัดขิก ไม่มีที่มาปรากฏชัดว่าเหตุใดจึงเรียกเช่นนั้น ส่วนคำว่า ปลัด หมายถึง ตำแหน่งรองจากตำแหน่งที่เหนือกว่า หรือสันนิษฐานว่าพ้องเสียงมาจากคำว่า ปราศวะ ในภาษาสันสกฤต แปลว่าเคียงข้าง เนื่องจากผู้บูชาปลัดขิกนิยมแขวนไว้ที่เอวหรือหากเป็นเด็กจะแขวนที่คอ เมื่อมีผู้พบเห็นแล้วเกิดหัวเราะเสียงดังคล้าย คิกๆคักๆ จึงอาจเพี้ยนมาเป็นปลัดขิก
ประวัติ
ตามความเชื่อที่เล่าสืบต่อกันมานั้น สันนิษฐานว่าอาจได้รับอิทธิพลมาจากชาวอินเดียในแถบตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 2000 ปีก่อน โดยอาจเกี่ยวข้องกับชาวฮินดูที่นับถือพระอิศวร และบูชาแท่งหินแกะสลักคล้ายอวัยวะเพศชาย เรียกว่า ศิวลึงค์การเริ่มบูชาปลัดขิกนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากการบูชาพระอาทิตย์และพระจันทร์ ซึ่งได้มีการสร้างเสาหินที่ผสมผสานระหว่างรูปร่างของพระอาทิตย์และพระจันทร์เข้าด้วยกัน หากดูผิวเผินจะคล้ายกับอวัยวะเพศชาย จึงเรียกว่า ลึงค์ เมื่อมีความเชื่อเกี่ยวกับพระอิศวรหรือพระศิวะกับพระอุมา ศิวะลึงค์จึงได้สร้างขึ้นมาให้มีขนาดเล็กลงเพื่อความสะดวกในการพกพาบางตำนาน
         กล่าวว่าเกิดจากบรรดาเทพและมนุษย์ร่วมกันสร้างเพื่อบูชาพระศิวะ แต่การจะสร้างพระศิวะเพื่อบูชานั้นอาจดูว่าเป็นเรื่องธรรมดามากเกินไป จึงได้สร้างศิวะลึงค์ขึ้นบูชาซึ่งอาจสื่อถึงความมีราคะของพระศิวะส่วนอีกตำนานหนึ่งนั้นกล่าวว่า วันหนึ่งพระศิวะร่วมเสพสังวาสกับพระอุมาในท้องพระโรง ทำให้บรรดาเหล่าเทพที่มาเข้าเฝ้าเห็นเข้า และแสดงความไม่นับถือต่อพระศิวะ ด้วยเหตุนี้พระศิวะจึงบันดาลโทสะและประกาศในท้องพระโรงนั้นว่า อวัยวะของพระองค์นี่แหละจักปกป้องคุ้มครองแก่ผู้เคารพบูชา หากเทพหรือมนุษย์ผู้ต้องการประสบความสำเร็จและความสุขในชีวิตจะต้องเคารพบูชาให้กราบไหว้บูชาอวัยวะของพระองค์มีบางตำนานกล่าวว่า วันหนึ่งเกิดโรคระบาดจนมีผู้คนล้มตายลงเป็นอันมากและเชื่อกันว่าเกิดจากพระอุมา
       อัครมเหสีของพระศิวะเกิดบันดาลโทสะโดยไม่ทราบสาเหตุ เหล่าพราหมณ์จึงแก้ด้วยการทำสิ่งบูชาคล้ายอวัยวะเพศชายเพื่อเป็นตัวแทนพระอิศวรและทำให้โรคระบาดหายไปในที่สุดตำนานที่เชื่อกันว่าน่าเชื่อถือที่สุดคือตำนานเกี่ยวกับการบูชา ตรีมูรติ มีการบูชาเทพผู้เป็นใหญ่ทั้งสามได้แก่ พระศิวะ พระพรหม พระวิษณุ และเทพทั้งสามได้มาปรากฎกายให้ผู้บูชาได้ชื่นชมพระบารมี โดยพระพรหมปรากฎเป็น สี่หน้า สี่กร พระวิษณุ เป็นเทพธรรมดา ส่วนพระศิวะปรากฎให้เห็นเฉพาะส่วนที่แสดงให้เห็นว่าเป้นเพศชาย
         หลักจากนั้นจึงได้มีการสร้างสิ่งเคารพที่แสดงถึงเทพทั้งสามตามที่ปรากฎให้เห็น ในประเทศไทยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเริ่มมีมาในสมัยใด และมีความแแตกต่างจากศิวลึงค์ของชาวฮินดู เนื่องจากปลัดขิกที่คนไทยนำมาบูชานั้นทำขึ้นจากผู้มีวิชาความรู้ด้านไสยศาสตร์และทำการปลุกเสกเพื่อให้เป็นเครื่องรางของขลัง โดยในสมัยโบราณคนไทยนิยมห้อยปลัดขิกไว้กับเอวหรือห้อยคอสำหรับเด็กผู้ชาย ซึ่งการทำเช่นนี้เพราะมีความเชื่อว่าหากมีปลัดขิกติดตัวจะช่วยป้องกันอันตรายต่างๆได้ หรือบางคนนำมาบูชาไว้กับสถานประกอบการค้าขายเพราะเชื่อว่าจะทำให้ค้าขายมีกำไรมีคนอุดหนุนกิจการมากขึ้นความเชื่อในปัจจุบัน
ปลัดขิกในปัจจุบันนอกจากทำขึ้นโดยผู้มีความรู้ด้านไสยศาสตร์แล้ว ยังพบว่าถูกสร้างโดยพระภิกษุและได้รับความนิยมมากอาจเพราะมีความเชื่อทางด้านพุทธคุณประกอบกัน หรือ บางครั้งถูกสร้างโดยผู้มีความศรัทธาในพระภิกษุนั้นแล้วทำการแกะสลักปลัดขิกจากนั้นจึงนำไปให้พระภิกษุที่ตนเองนับถือทำการปลุกเสกนอกจากนี้ปลัดขิกยังถูกมองว่าเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะมีการแกะสลักเป็นรูปลิง หรือรูปร่างหญิงเปลือยกาย ซึ่งล้วนแต่มีความเชื่อผสมอยู่เสมอ เช่น ลิงอาจหมายถึงความคล่องแคล่ว หญิง หมายถึง มีเสน่ห์ หรือทำขึ้นเพื่อให้ชาวต่างชาตินำไปเป็นของสะสม

อนุสาวรีย์สามกษัตริย์

Posted By on September 24, 2012

อนุสาวรีย์สามกษัตริย์

พระบรมราชานุสรณ์สามกษัตริย์ ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เดิมพระบรมรูป “สามกษัตริย์” หล่อด้วยทองเหลืองและทองแดงรมดำ มีขนาดเท่าครึ่ง จากพระบาทถึงพระเศียรไม่รวมยอดมงกุฏ มีความสูง ๒๗๐ เมตร ออกแบบและทำการ ปั้นหล่อโดยคุณไข่มุกด์ ชูโต ใช้เวลา ๑๐ เดือน ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์ สามกษัตริย์ จากกรุงเทพมหานครขึ้นประดิษฐานบนแท่นพระบรม ราชานุสาวรีย์ ในวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๖ เวลา ๑๑.๔๙ น.
พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ คือ พญามังราย พญาร่วง และพญางำเมือง ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่พระมหากษัตริย์สาม พระองค์มาทรงร่วมกันวางแผนการสร้างเมืองเชียงใหม่ ซึ่งปรากฏคำจารึกฐาน พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ กล่าวคือพญามังรายประสูติ เมื่อปีกุน พ.ศ. ๑๗๘๒ พระองค์ทรงครองเมืองเงินยางเชียงแสนแทนพญาลาวเม็ง พระราชบิดา เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๒ ทรงพระปรีชาสามารถกล้าหาญเป็นเยี่ยมสามารถ รวบรวมแคว้นและเมืองต่างๆ เข้าเป็นอาณาจักรล้านนาไทย และได้ทรงตรากฏหมาย “มังรายศาสตร์” ขึ้นเป็นหลักในการปกครองบ้านเมือง พระองค์ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ ราชวงศ์มังราย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๓๙ โดยมีพระราชวงศ์สืบ ต่อกันมาอีก ๑๗ พระองค์ พญามังรายสิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๖๐ สิริพระชนมายุได้ ๗๙ ชันษา

พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหงมหาราช) พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยพระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สามของ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงพระบรมเดชานุภาพมากเมื่อพระชนมายุได้ ๑๙ พรรษา ได้กระทำยุทธหัตถีชนะขุนสามชนเจ้า เมืองฉอด ปรากฏพระเกียรติยศไพศาลเป็นที่คร้ามเกรงแก่บรรดาหัวเมืองต่างๆ สมัยนั้น พระองค์ทรงปกครองบ้านเมืองและอาณา ประชาราษฎร์ให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขทุกถ้วนหน้า และได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๖ ซึ่งใช้สืบมาจนถึงทุกวันนี้ ทรงครองราชย์เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๘๒๒ และสิ้นพระชนม์เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๘๔๒

พญางำเมือง ประสูติเมื่อปีจอ พ.ศ. ๑๗๘๑ ทรงปกครองเมืองพะเยาสืบต่อจากพญามิ่งเมืองพระราชบิดา เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๑ เมื่อทรงพระเยาว์ได้ศึกษาศิลปวิทยาร่วมสำนักอาจารย์เดียวกับพญามังราย จึงเป็นพระสหายสนิทแต่นั้นมา พระองค์ทรงอานุภาพเสมอ เท่าเทียมกันในการปกครองบ้านเมืองนั้น ได้ทรงใช้วิเทโศบายผูกมิตรไมตรีกับอาณาจักรใกล้เคียง บ้านเมืองจึงร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา

พระราชาธิราชทั้งสามพระองค์ ได้ทรงกระทำสัตย์ปฏิญาณผูกมิตรทรงดื่มน้ำสัตยาผสมโลหิตจากนิ้วพระหัตถ์ เพื่อเป็นมิตร น้ำร่วมสาบานไม่เป็นศัตรูต่อกัน ณ ฝั่งแม่น้ำอิง เขตเมืองพะเยา

เมื่อพญามังรายได้ทรงสร้างเมืองเชียงรายแล้ว ต่อมาได้ทรงสร้างเมืองฝางและตีได้เมืองหริภุญไชยจากพญายีบาได้สร้าง เวียงกุมกาม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอสารภี ภายหลังทรงพบชัยภูมิเมืองอันเป็นศุภนิมิตรมงคล ๗ ประการ เป็นที่ราบริมน้ำปิงกับ ดอยสุเทพ พญามังรายจึงได้เชิญพระสหาย คือ พญาร่วงและพญางำเมืองมาร่วมปรึกษาหารือ ตั้งพิธีกัลปบาตฝังนิมิตหลักเมือง ในวัน พฤหัสบดี เพ็ญเดือน ๖ พ.ศ. ๑๘๓๙ จันทร์เสวยฤกษ์ ๑๖ ยามแตรจักใกล้รุ่งไว้ลัคนาเมืองในราศรีมินอาโปธาตุ สร้างเสร็จในปีเดียวกันขนานเมือง ใหม่นี้ว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เมืองเชียงใหม่”

ประเพณีการเกิด

Posted By on September 24, 2012

ประเพณีการเกิด

       การเกิดเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของมนุษย์ที่มีเพศสัมพันธ์กัน เป็นการสืบทอดเผ่าพันธุ์ ในทางจารึกประเพณีมีการแต่งงานเพื่อใช้ชีวิตร่วมกันเป็นครอบครัวใหม่ และเมื่อถึงระยะหนึ่งก็จะมีสายโลหิตสืบทอดตระกูลคนไทยมีความเกี่ยวกับการเกิดใหม่ของทารกและสืบทอดความเชื่อนั้นจนมาถึงปัจจุบันถึงแม้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ ทำให้ความเชื่อนั้นหมดไป แต่ส่วนหนึ่งก็ยังคงอยู่ โดยเฉพาะในสังคมชนบทเชื่อกันว่าทารกที่มาเข้าท้องของคนที่จะเป็นมารดานั้นเป็นการมาจุติของเทวดา
      บางท้องที่จึงห้ามเด็กไม่ให้ชี้หรือทักผีพุ่งไต้ เพราะจะทำให้สิ่งที่จะมาเกิดนั้นไปเกิดในท้องหมา เมื่อมารดาเริ่มตั้งครรภ์จะมีอาการแพ้ท้อง บางคนอยากกินของแปลกๆ เช่น ข้าวดิบ ดินสอพอง คนเฒ่าคนแก่จะแนะนำให้รู้จักรักษาเนื้อรักษาตัวไม่ให้ทำงานหนัก ทำจิตใจให้สบาย ทำบุญตักบาตรทุกวัน เพื่อจะได้อธิษฐานให้ทารกในครรภ์มีอาการครบทั้ง 32 ประการ และเป็นเด็กดี และมีข้อห้าม สำหรับคนท้องหลายประการด้วยกัน เช่น ห้ามอาบน้ำตอนกลางคืน เพราะพรายจะมาเกิดหรือคลอดลูกจะแฝดน้ำ ห้ามคิดถึงลูกในท้องในทางที่ไม่เป็นมงคล ห้ามมองภาพที่ไม่น่าดู น่ากลัว ห้ามไปดูศพคนตาย
     ห้ามเตรียมของสำหรับเด็ก ฯลฯ แม้กระทั่งอาหารการกินก็มีข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติหลายอย่าง เช่น คนท้องไม่ควรกินพวก เนื้อ ไข่ อาหารหวาน เพราะจะทำให้คลอดยาก ห้ามกินของเผ็ดจัด เพราะทำให้ลูกหัวล้าน ควรกินข้าวกับปลาเค็ม หรือปลาตัวเล็กๆ และดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนมากๆ เพราะจะทำให้คลอดง่าย เป็นต้นขณะที่ท้องโตใกล้ถึงกำหนดคลอด แม่ทาน (หมอตำแย) จะมาคัดท้องให้บ่อยๆ เพื่อให้คลอดง่าย และไม่เข็ดไม่เมื่อย พอถึงกำหนดคลอดฝ่ายสามีและญาติมิตรเพื่อนบ้านจะมาช่วยจัดเตรียมหาฟืน ถ่าน แคร่สำหรับอยู่ไฟ และของจำเป็นอื่นๆ ในห้องคลอดจะเหลือเฉพาะแม่ทานกับผู้คลอดเท่านั้น แม่ทานจะเป็นผู้ทำคลอด
        เมื่อทารกคลอดออกมา แม่ทานจะรีบล้วงสิ่งที่ค้างอยู่ในปากทารกออกให้หมด ตัดสายสะดือด้วยไม้ไผ่แล้วใช้ด้ายเหนียวผูกสายสะดือการอาบน้ำให้ทารกแรกเกิดใช้น้ำอุ่นใส่เกลือ อาบเสร็จใช้ผงขมิ้นผสมดินสอพองบดละลายน้ำถูตัวเด็ก ใช้หัวไพลที่เศกอาคมผูกข้อมือเด็กเป็นการป้องกันผีร้าย แล้วนำเด็กลงเบาะโดยใช้คนซึ่งในวัยเด็กเป็นคนว่านอนสอนง่ายเป็นคนปูเบาะให้ ก่อนลงเบาะต้อเอาเด็กเวียนรอบเบาะ แล้วกล่าวว่า “ผีเอาไป พระเอามา” แล้ววางเด็ก ทำอย่างนี้จนครบ 3 ครั้ง
         ในบางท้องที่จะวางเด็กในกระด้งมีผ้านุ่งของแม่ฉีกเป็นผ้าอ้อม ใต้เบาะจะมีสมุด ดินสอ เข็ม วางไว้ เพื่อเป็นเคล็ดให้เด็กรักการอ่านเขียน มีความคิดรอบคอบและเฉียบแหลม สำหรับรกนั้นแม่ทานจะใส่หม้อดินใส่เกลือใช้ผ้าขาวห่อปิดผูกด้วยด้ายดิบสีขาวปนแดงแล้วเอาไปฝังบนจอมปลวกและหาสิ่งป้องกันให้สัตว์ขุดคุ้ยได้หลังจากคลอดทารกแล้ว ผู้เป็นแม่จะต้ออยู่ไฟโดยนอนบนแคร่ ใกล้แคร่จะใช้ก้อนหินทำเป็นเตา ไม้ฟืนที่ใช้นิยมใช้ไม้พลา ไม้โกงกาง ไม้ส้ม หรือไม้เนื้อแข็งที่ติดไฟได้นาน และมีขี้เถ้าน้อย แม่ทานจะคอยเอาหินก้อนเส้าเผาไฟใช้น้ำราด แล้วเอาผ้าห่มมาวางบนท้อง
เพื่อให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น มีการช่วยบีบ เหยียบ นวด ดัดตัวให้ผู้เป็นแม่ของารกการเตรียมอาหารให้ผู้อยู่ไฟต้องเป็นอาหารที่ช่วยให้แม่มีน้ำนมมากๆ เช่น หมู ไก่ ตับผัดขิง และแกงเลียงหัวปลี และห้ามไม่ให้กินของเย็น เช่น น้ำแข็ง แตงโม เพราะทำให้เลือดลมเดินไม่สะดวกการอยู่ไฟจะกำหนดให้อยู่ครบวันคี่ เพราะจะทำให้มีลูกห่าง เมื่อครบกำหนดแล้วจะออกไฟ แม่ทานจะมาทำพิธีโดยเอาน้ำมนต์ประพรม และราดไฟให้ดับสนิท ก้อนเส้าใช้น้ำมนต์ประพรมแล้วห่อผ้านำไปเก็บไว้ที่แม่ทานตั้งไว้เมื่อก่อนจะคลอด หลังจากนั้นก็จะจุดเทียนบูชาครูเก็บเงินที่ตั้งราดไว้ สิ่งของที่เหลืออื่นๆ
          จะนำไปทิ้งในป่าเรียกว่าสบัดราด แล้วนำแม่ลูกไปอาบน้ำ ให้แม่แต่งตัวด้วยชุดใหม่ สำหรับเด็กเช็ดตัวให้แห้ง ลูบไล้ตัวด้วยขมิ้นบดผสมด้วยดินสอพองแล้วนำลงเปลก่อนนำเด็กลงเปล มีการผูกเปลให้เด็ก แม่ทานจะบริกรรมคาถาเชื้อเชิญแม่ซื้อให้อยู่กับเด็กการปูเปลเด็กจะใช้ผู้ใหญ่ที่เคยเลี้ยงง่าย ไม่ดื้อ ตอนเป็นเด็กมาช่วยปูให้ เพราะเชื่อว่าเด็กจะได้มีนิสัยเหมือนคนปูเปล
         พิธีขึ้นเปลต้องจัดสำรับประกอบด้วย มีขนมแดง ขนมขาว หมาก พลู หมู ข้าวเหนียว เซ่นบูชาแม่เปล ตอนอุ้มเด็กลงเปล แม่ทานจะกล่าวว่า “พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา” แล้ววางทารกลงเปลให้นอนหงายศีรษะทางทิศตะวันออก หรือทิศใต้ และขับกล่อมเด็กด้วยการร้องเพลงร้องเรือประเพณีและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการเกิดในปัจจุบันของชาวไชยาได้คลี่คลายไปจากเดิมเป็นมาก เพราะความเจริญก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ การคลองส่วนใหญ่จึงอาศัยผดุงครรภ์หรือแพทย์มากกว่าจะใช้แม่ทาน แต่แนวปฏิบัติบางอย่างยังคงยึดถืออยู่ ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของผู้เป็นแม่ที่ต้องการให้ลูกคลอดออกมาสมบูรณ์เฉลียวฉลาด จึงพยายามยึดแนวปฏิบัติที่ผู้ใหญ่แนะนำที่ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์นั่นอง
บทความจาก http://kno.sru.ac.th/e473/e1002/

ประเพณีการแต่งงานแบบไทย

Posted By on September 24, 2012

ประเพณีการแต่งงานแบบไทย

    การแต่งงานแบบไทย พิธีการแต่งงานตามธรรมเนียมไทย  การแต่งงานเกิดขึ้นหลังจากที่ฝ่ายชายและหญิงเกิด ความรักใคร่ชอบพอกันในเวลาอันสมควร เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ฝ่ายชายจะบอกกับพ่อแม่ ให้ทราบเพื่อให้จัดการผู้ใหญ่มาทาบทามสู่ขอฝ่ายหญิงจากพ่อแม่ของฝ่ายหญิงในสมัยนี้พิธีการแต่งงาน ได้ถูกตัดทอนย่นย่อลงมาก เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน สิ่งที่สิ้นเปลืองก็ตัดออกไป แต่ยังคงรักษาพิธีการแต่งงานตามธรรมเนียมไทยสืบต่อกันมา
การหมั้นหมาย หลักประกันของรักแท้
     ตามประเพณีไทยแท้แต่ โบราณนิยมให้คู่รักหมั้นหมายกันสักระยะหนึ่งก่อนแล้วค่อยแต่งงาน เพื่อให้ทั้งสองได้เรียนรู้ ศึกษานิสัยใจคอ และปรับตัวเข้าหากันก่อนการแต่งงาน สำหรับในปัจจุบันมักนิยมรวบวันหมั้นกับวันแต่งไว้ในวันเดียวกัน เพื่อประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และยังไม่ต้องรบกวนให้แขกเดินทางหลายครั้งอีกด้วย
ในงานหมั้นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ”ขันหมากหมั้น”เปรียบ ได้กับหนังสือสัญญาระหว่างฝ่ายหญิงกับฝ่ายชาย ส่วนเหตุที่ต้องใช้ “หมาก”เป็นตัวแทนของหนังสือสัญญาก็เพราะในสมัยก่อนหมากพลูเปรียบเหมือน สิ่งแสดงถึงความเคารพและเป็นของต้อนรับแขก เพื่อสื่อถึงความยินดีและแสดงออกถึงน้ำใจไมตรีที่มีต่อกัน ขันหมากแบ่งเป็น 2 ประเภทคือขันหมากเอกและขันหมากโท
“ขันหมากเอก”คือ ขันสำหรับใส่หมากพลู วางบนพานรอง จะเป็นเงิน ทอง นาค ทองเหลืองหรือ ถมเงิน แล้วแต่ฐานะของฝ่ายชาย แต่ต้องจัดขันเป็นคู่ๆ ในขันหมากหมั้นประกอบด้วยหมาก 8 ผล ใบพลู 4 เรียง เรียงละกี่ใบก็แล้วแต่ ตกแต่งเพิ่มเติมด้วยใบเงิน ใบทอง ใบนาค ใบรัก ใบสวาด มีถุงแพรและถุงผ้าโปร่งบรรจุเมล็ดถั่ว งา ข้าวเปลือก สื่อความหมายถึงความงอกงาม อุดมสมบูรณ์ จัดเรียงอยู่ในขัน ตกแต่งของทุกอย่างให้สวยงาม แล้วใช้ใบตองสานเป็นกรวยสูงครอบ จากนั้นห่อด้วยผ้าโปร่งสีทอง สีเงิน ผ้าแก้วหรือผ้าลูกไม้ ตามฐานะของฝ่ายชาย เพื่อกันไม่ให้ของในขันหล่นเสียหายเวลายกขบวนขันหมากไปบ้านฝ่ายหญิง
สำหรับของหมั้นที่ฝ่ายชายยกไปหมั้นฝ่ายหญิงนั้นประกอบด้วย 2 อย่างคือ “สินสอด” หรือที่โบราณเรียกอีกอย่างว่าค่าน้ำนม ซึ่งเป็นเงินหรือสิ่งของที่พ่อแม่ฝ่ายหญิงเป็นผู้กำหนด นิยมเรียกให้สมฐานะของฝ่ายหญิง ยิ่งเรียกมากยิ่งเป็นหน้าเป็นตาว่าพ่อแม่ฝ่ายหญิงเลี้ยงลูกดี ฝ่ายชายจึงยอมเสียสินสอดจำนวนมากเพื่อให้ได้ลูกสาวบ้านนี้มาเป็นคู่ครอง ซึ่งในปัจจุบันเงินสินสอดส่วนใหญ่พ่อแม่ฝ่ายหญิงมักจะมอบเป็นเงินก้นถุง เพื่อเริ่มต้นชีวิตคู่
ของหมั้นที่ขาดไม่ได้อีกอย่างก็คือทองคำ ด้วยคุณค่าและราคาที่แสนแพงของทองคำ ทำให้เป็นที่นิยมใช้ในการหมั้นหมายมาตั้งแต่โบราณ จนเรียกกันติดปากมาถึงทุกวันนี้ว่า “ทองหมั้น” แต่ใน ปัจจุบันอาจมีเรื่องประดับเพชรเพิ่มขึ้นมาก็ได้
“สิน สอดทองหมั้น”จะถูกวางในพานต่างหากแยกกับพานขันหมาก จะมีกี่พานก็ได้แล้วแต่ฐานะของฝ่ายชาย ปัจจุบันนิยมมีพานแหวนหมั้นเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งพาน พานทั้งสองนิยมใช้ใบเงิน ใบทอง ใบนาก หรือใช้ดอกรักตกแต่งก็ได้ เพื่อสื่อถึงความรักที่ฝ่ายชายมีให้กับฝ่ายหญิง และถ้ามีการแต่งงานวันเดียวกับวันหมั้นต้องเพิ่มพานผ้าไหว้บรรพบุรุษและผ้า ไหว้พ่อแม่ในขบวนขันหมากเอกด้วย

สถานที่จัดงานแต่งงานแบบไทย , เรือนไทย :  มีคู่รัก หลายคู่ที่หลงใหล เสน่ห์ความเป็นไทย รักบรรยากาศแบบไทยๆ ชอบอะไรๆ แบบไทยๆ (ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือชาวต่างชาติ)  ต่างก็หลงเสน่ห์ความเป็นไทย ไม่แตกต่างกัน  ทำให้คู่รัก…ฝันอยากจะมีจัดงานแต่งงานแบบไทย  ตามประเพณีการแต่งงานแบบไทย   โดยส่วนใหญ่จะเลือกสถานที่จัดงานแต่งงานสไตล์เรือนไทย  และ Weddinginlove.com มีภาพบรรยากาศ งานแต่งงานแบบไทย &  สถานที่จัดงานแต่งงานแบบเรือนไทย มาให้ดูกันค่ะ

ชุดสวยของเจ้าสาว (ชุดแต่งงานแบบไทย)   พิธีหมั้นและแต่งงานแบบไทย ขาดไม่ได้ที่ต้องสวมชุดไทยเพื่อเข้าพิธี ชุดไทยที่นิยมใช้ในงานแต่งงานมี 8 ชุดคือ (เรียงจากซ้ายไปขวา)

ชุดไทยเรือนต้นเสื้อเข้ารูปแขนสามส่วนคอกลมไม่มีขอบ ผ่าหน้าติดกระดุม ใส่คู่กับผ้าซิ่นยาวจรดข้อเท้าป้ายหน้า นิยมตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมสีพื้น หรือไม่ก็ผ้าสีพื้นแบบมีเชิง เหมาะกับงานลำลอง ชุดไทยจิตรลดา เสื้อคอกลมขอบตั้ง แขนทรงกระบอกยาวจรดข้อมือ ผ่าอก นิยมตัดเย็บด้วยผ้าไหมสีพื้นหรือผ้ายกดอก ส่วนผ้าซิ่นนิยมใช้ผ้าไหมสีพื้นแบบมีเชิงป้ายหน้ายาวจรดข้อเท้า เหมาะกับงานพิธีที่ค่อนข้างเป็นทางการตอนกลางวัน ชุดไทยอมรินทร์ แบบของชุดเหมือนกับชุดไทยจิตรลดา

       ต่างกันแค่การเลือกใช้ผ้าที่หรูหรากว่า นิยมใช้ผ้าไหมยกเงินหรือยกทอง จึงเหมาะกับงานพิธีตอนค่ำ ชุดไทยบรมพิมานตัวเสื้อ เข้ารูปแขนทรงกระบอกยาวจรดข้อมือ คอกลมขอบตั้ง ผ่าหลัง นิยมตัดตัวเสื้อติดกับผ้านุ่งที่จับจีบหน้านางมีชายพก ยาวจรดข้อเท้า คาดเข็มขัดทอง เหมาะกับงานพิธีทางการในตอนค่ำชุดไทยศิวาลัย แบบของชุดคล้ายกับชุดไทยบรมพิมาน แต่ต้องใส่คู่กับสไบ ซิ่นตัดเย็บด้วยผ้าไหมยกดิ้นทองยาวคลุมข้อเท้า จับจีบหน้านางมีชายพก คาดเข็มขัดทอง เหมาะกับงานพิธีเต็มยศชุดไทยดุสิตตัวเสื้อเข้ารูป คอปาด ไม่มีแขน ตัวเสื้อปักประดับลายทั่วตัวด้วยดิ้นเงินหรือดิ้นทอง มุกและลูกปัด
    ส่วนซิ่นตัดเย็บด้วยผ้าไหมหรือผ้ายกทอง จับจีบด้านหน้ามีชายพก คาดเข็มขัดทอง ชุดไทยจักรีท่อนบนห่มสไบเฉียง สไบทิ้งไปด้านหลังยาวพอสมควร ส่วนซิ่นเป็นผ้ายก จีบหน้านางมีชายพก คาดเข็มขัดทอง ชุดไทยจักรพรรดิลักษณะของชุดคล้ายกับชุดไทยจักรี แต่หรูหราและเหมาะกับงานพิธีที่เป็นทางการมากกว่า ผ้าที่เลือกตัดเย็บส่วนใหญ่นิยมใช้ผ้าไหมหรือผ้ายกทองแบบมีเชิง ส่วนสไบนิยมใช้ผ้าไหมปักดิ้นทองห่มทับสไบผ้าแพรอีกชั้นหนึ่ง

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

Posted By on September 24, 2012

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

     ประเพณีผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การนำผ้าผืนยาวขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ในวันสำคัญทางศาสนา ชาวนครได้ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเงินตามกำลังศรัทธานำเงินที่ได้ไปซื้อผ้ามาเย็บต่อกันเป็นแถวยาวนับพันหลา แล้วจัดเป็นขบวนแห่ผ้าขึ้นห่มพระบรมธาตุเจดีย์ ผ้าที่ขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เรียกว่า “ผ้าพระบฎ” (หรือ พระบต) นิยมใช้สีขาว สีเหลือง สีแดง สำหรับผ้าสีขาวนิยมเขียนภาพเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ เสด็จออกบรรพชา ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นเอกลักษณ์ประจำเมือง
    นครศรีธรรมราช แก่นแท้อยู่ที่การบูชาพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด โดยใช้องค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นตัวแทนตามตำนานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุมีว่า ในสมัยที่พระเจ้าสามพี่น้อง คือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ กำลังดำเนินการสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น คลื่นได้ซัดผ้าแถบยาวชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีลายเขียนเรื่องราวพุทธประวัติ (เรียกว่า พระบฎ หรือ พระบต) ขึ้นที่ชายหาดปากพนัง
      จึงนำผ้าผืนนั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระองค์จึงรับสั่งให้ซักจนสะอาด แต่ลายเขียนพุทธประวัติก็ไม่ลบเลือนยังคงสมบูรณ์ดีทุกประการ จึงรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ได้ความว่าชาวพุทธกลุ่มหนึ่ง จะเดินทางไปลังกา เพื่อนำพระบฎไปถวายเป็นพุทธบูชาพระทันตธาตุ คือ พระเขี้ยวแก้ว แต่เรือถูกมรสุมซัดแตกที่ชายฝั่งเมืองนครมีรอดชีวิต 10 คน ส่วนพระบฏถูกคลื่นซัดขึ้นฝั่งปากพนัง พระเจ้าศรีธรรมโศกราชทรงพิจารณาเห็นว่าควรจะนำขึ้นไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ
เจ้าของพระบฎที่รอดชีวิตก็ยินดีด้วย จึงโปรดให้ชาวเมืองนครจัดเครื่องประโคมแห่แหนผ้าห่มโอบฐานพระบรมธาตุเจดีย์ จึงเป็นประเพณีประจำเมืองนครสืบมาจนทุกวันนี้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 คือ วันวิสาขบูชา เรียกว่า “แห่พระบฎขึ้นธาตุ” มีการเวียนเทียนรอบองค์พระบรมธาตุ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้มีการแห่ผ้าขึ้นธาตุ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 คือ วันมาฆบูชา
     เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่อยู่ห่างไกลหรือไม่มีโอกาสกระทำพุทธบูชาในวันวิสาขบูชาได้มีโอกาสแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันมาฆบูชาตามศรัทธาด้วย ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของเมืองนครจึงมีปีละ 2 ครั้ง คือ ในวันเพ็ญเดือน 3 (วันมาฆบูชา) และในวันเพ็ญเดือน 6 (วันวิสาขบูชา) สืบมาจนทุกวันนี้เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุกระทำกันโดยพร้อมเพรียงเป็นขบวนที่เอิกเกริกเพียงขบวนเดียว ต่อมา ประชาชนมาจากหลายทิศหลายทาง แต่ละคนต่างเตรียมผ้ามาเองทำให้การแห่ผ้าขึ้นธาตุไม่พร้อมเพรียงเป็นขบวนเดียวกัน
   เพราะใครจะแห่ผ้าขึ้นธาตุในเวลาใดก็ได้ตามสะดวกตลอดทั้งวัน เมื่อขบวนแห่มาถึงวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร ก็แห่ทักษิณาวัตรรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ 3 รอบ แล้วนำผ้าเข้าสู่วิหารม้า ซึ่งมีบันไดขึ้นสู่ลานภายในกำแพงแก้วล้อมฐานพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อนำผ้าขึ้นห่มโอบฐานพระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด
ที่มา http://th.wikipedia.org
Free Web Hosting