ประเพณีการเกิด

Posted By on September 24, 2012

ประเพณีการเกิด

       การเกิดเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของมนุษย์ที่มีเพศสัมพันธ์กัน เป็นการสืบทอดเผ่าพันธุ์ ในทางจารึกประเพณีมีการแต่งงานเพื่อใช้ชีวิตร่วมกันเป็นครอบครัวใหม่ และเมื่อถึงระยะหนึ่งก็จะมีสายโลหิตสืบทอดตระกูลคนไทยมีความเกี่ยวกับการเกิดใหม่ของทารกและสืบทอดความเชื่อนั้นจนมาถึงปัจจุบันถึงแม้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ ทำให้ความเชื่อนั้นหมดไป แต่ส่วนหนึ่งก็ยังคงอยู่ โดยเฉพาะในสังคมชนบทเชื่อกันว่าทารกที่มาเข้าท้องของคนที่จะเป็นมารดานั้นเป็นการมาจุติของเทวดา
      บางท้องที่จึงห้ามเด็กไม่ให้ชี้หรือทักผีพุ่งไต้ เพราะจะทำให้สิ่งที่จะมาเกิดนั้นไปเกิดในท้องหมา เมื่อมารดาเริ่มตั้งครรภ์จะมีอาการแพ้ท้อง บางคนอยากกินของแปลกๆ เช่น ข้าวดิบ ดินสอพอง คนเฒ่าคนแก่จะแนะนำให้รู้จักรักษาเนื้อรักษาตัวไม่ให้ทำงานหนัก ทำจิตใจให้สบาย ทำบุญตักบาตรทุกวัน เพื่อจะได้อธิษฐานให้ทารกในครรภ์มีอาการครบทั้ง 32 ประการ และเป็นเด็กดี และมีข้อห้าม สำหรับคนท้องหลายประการด้วยกัน เช่น ห้ามอาบน้ำตอนกลางคืน เพราะพรายจะมาเกิดหรือคลอดลูกจะแฝดน้ำ ห้ามคิดถึงลูกในท้องในทางที่ไม่เป็นมงคล ห้ามมองภาพที่ไม่น่าดู น่ากลัว ห้ามไปดูศพคนตาย
     ห้ามเตรียมของสำหรับเด็ก ฯลฯ แม้กระทั่งอาหารการกินก็มีข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติหลายอย่าง เช่น คนท้องไม่ควรกินพวก เนื้อ ไข่ อาหารหวาน เพราะจะทำให้คลอดยาก ห้ามกินของเผ็ดจัด เพราะทำให้ลูกหัวล้าน ควรกินข้าวกับปลาเค็ม หรือปลาตัวเล็กๆ และดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนมากๆ เพราะจะทำให้คลอดง่าย เป็นต้นขณะที่ท้องโตใกล้ถึงกำหนดคลอด แม่ทาน (หมอตำแย) จะมาคัดท้องให้บ่อยๆ เพื่อให้คลอดง่าย และไม่เข็ดไม่เมื่อย พอถึงกำหนดคลอดฝ่ายสามีและญาติมิตรเพื่อนบ้านจะมาช่วยจัดเตรียมหาฟืน ถ่าน แคร่สำหรับอยู่ไฟ และของจำเป็นอื่นๆ ในห้องคลอดจะเหลือเฉพาะแม่ทานกับผู้คลอดเท่านั้น แม่ทานจะเป็นผู้ทำคลอด
        เมื่อทารกคลอดออกมา แม่ทานจะรีบล้วงสิ่งที่ค้างอยู่ในปากทารกออกให้หมด ตัดสายสะดือด้วยไม้ไผ่แล้วใช้ด้ายเหนียวผูกสายสะดือการอาบน้ำให้ทารกแรกเกิดใช้น้ำอุ่นใส่เกลือ อาบเสร็จใช้ผงขมิ้นผสมดินสอพองบดละลายน้ำถูตัวเด็ก ใช้หัวไพลที่เศกอาคมผูกข้อมือเด็กเป็นการป้องกันผีร้าย แล้วนำเด็กลงเบาะโดยใช้คนซึ่งในวัยเด็กเป็นคนว่านอนสอนง่ายเป็นคนปูเบาะให้ ก่อนลงเบาะต้อเอาเด็กเวียนรอบเบาะ แล้วกล่าวว่า “ผีเอาไป พระเอามา” แล้ววางเด็ก ทำอย่างนี้จนครบ 3 ครั้ง
         ในบางท้องที่จะวางเด็กในกระด้งมีผ้านุ่งของแม่ฉีกเป็นผ้าอ้อม ใต้เบาะจะมีสมุด ดินสอ เข็ม วางไว้ เพื่อเป็นเคล็ดให้เด็กรักการอ่านเขียน มีความคิดรอบคอบและเฉียบแหลม สำหรับรกนั้นแม่ทานจะใส่หม้อดินใส่เกลือใช้ผ้าขาวห่อปิดผูกด้วยด้ายดิบสีขาวปนแดงแล้วเอาไปฝังบนจอมปลวกและหาสิ่งป้องกันให้สัตว์ขุดคุ้ยได้หลังจากคลอดทารกแล้ว ผู้เป็นแม่จะต้ออยู่ไฟโดยนอนบนแคร่ ใกล้แคร่จะใช้ก้อนหินทำเป็นเตา ไม้ฟืนที่ใช้นิยมใช้ไม้พลา ไม้โกงกาง ไม้ส้ม หรือไม้เนื้อแข็งที่ติดไฟได้นาน และมีขี้เถ้าน้อย แม่ทานจะคอยเอาหินก้อนเส้าเผาไฟใช้น้ำราด แล้วเอาผ้าห่มมาวางบนท้อง
เพื่อให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น มีการช่วยบีบ เหยียบ นวด ดัดตัวให้ผู้เป็นแม่ของารกการเตรียมอาหารให้ผู้อยู่ไฟต้องเป็นอาหารที่ช่วยให้แม่มีน้ำนมมากๆ เช่น หมู ไก่ ตับผัดขิง และแกงเลียงหัวปลี และห้ามไม่ให้กินของเย็น เช่น น้ำแข็ง แตงโม เพราะทำให้เลือดลมเดินไม่สะดวกการอยู่ไฟจะกำหนดให้อยู่ครบวันคี่ เพราะจะทำให้มีลูกห่าง เมื่อครบกำหนดแล้วจะออกไฟ แม่ทานจะมาทำพิธีโดยเอาน้ำมนต์ประพรม และราดไฟให้ดับสนิท ก้อนเส้าใช้น้ำมนต์ประพรมแล้วห่อผ้านำไปเก็บไว้ที่แม่ทานตั้งไว้เมื่อก่อนจะคลอด หลังจากนั้นก็จะจุดเทียนบูชาครูเก็บเงินที่ตั้งราดไว้ สิ่งของที่เหลืออื่นๆ
          จะนำไปทิ้งในป่าเรียกว่าสบัดราด แล้วนำแม่ลูกไปอาบน้ำ ให้แม่แต่งตัวด้วยชุดใหม่ สำหรับเด็กเช็ดตัวให้แห้ง ลูบไล้ตัวด้วยขมิ้นบดผสมด้วยดินสอพองแล้วนำลงเปลก่อนนำเด็กลงเปล มีการผูกเปลให้เด็ก แม่ทานจะบริกรรมคาถาเชื้อเชิญแม่ซื้อให้อยู่กับเด็กการปูเปลเด็กจะใช้ผู้ใหญ่ที่เคยเลี้ยงง่าย ไม่ดื้อ ตอนเป็นเด็กมาช่วยปูให้ เพราะเชื่อว่าเด็กจะได้มีนิสัยเหมือนคนปูเปล
         พิธีขึ้นเปลต้องจัดสำรับประกอบด้วย มีขนมแดง ขนมขาว หมาก พลู หมู ข้าวเหนียว เซ่นบูชาแม่เปล ตอนอุ้มเด็กลงเปล แม่ทานจะกล่าวว่า “พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา” แล้ววางทารกลงเปลให้นอนหงายศีรษะทางทิศตะวันออก หรือทิศใต้ และขับกล่อมเด็กด้วยการร้องเพลงร้องเรือประเพณีและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการเกิดในปัจจุบันของชาวไชยาได้คลี่คลายไปจากเดิมเป็นมาก เพราะความเจริญก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ การคลองส่วนใหญ่จึงอาศัยผดุงครรภ์หรือแพทย์มากกว่าจะใช้แม่ทาน แต่แนวปฏิบัติบางอย่างยังคงยึดถืออยู่ ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของผู้เป็นแม่ที่ต้องการให้ลูกคลอดออกมาสมบูรณ์เฉลียวฉลาด จึงพยายามยึดแนวปฏิบัติที่ผู้ใหญ่แนะนำที่ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์นั่นอง
บทความจาก http://kno.sru.ac.th/e473/e1002/

About the author

Comments

Leave a Reply

Free Web Hosting