บัว 4 เหล่า คืออะไร มีความหมายอย่างไร

| November 30, 2012

บัว 4 เหล่า คืออะไร มีความหมายอย่างไร ภายในโคลนนั่นน่ะ มีความเหม็นสาบเหม็นเน่าสารพัดอย่าง แต่ดอกอุบลทั้งหลายที่เกิดในที่นั้น ยิ่งสวย ยิ่งงาม ยิ่งต้นใหญ่ ลำใหญ่ ดอกใหญ่ โคลนทั้งหลายนั้นเป็นปุ๋ยของมัน บัวทั้งหลายมันชอบปุ๋ย ติณชาติทั้งหลายชอบปุ๋ย ได้ปุ๋ยแล้วมันงาม ปุ๋ยนั้นเป็นของโสโครก เป็นของสกปรกเป็นของเหม็น กลิ่นสารพัดอย่าง มันจะเหม็นเท่าไรๆ สกปรกเท่าใดๆ บัวมันยิ่งชอบ ดอกมันยิ่งโต ลำมันใหญ่ ยิ่งยาวดอกบัวนั้นก็เปรียบกับจิตของเรา มันจมอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง คือ ราคะ โทสะ โมหะ สารพัดอย่าง อันมันเป็นโคลน ที่เป็นโคลนนี้ ท่านจึงจัดว่า ดอกบัวมันอยู่ในตม ที่มันอยู่ในโคลนนั้นน่ะ ท่านบอกว่า มันเป็นดอกบัวที่เสี่ยงเสี่ยงเพราะอะไร มันอยู่ในโคลนยังไม่มีหวังที่จะพ้นตมมาเลย มันจึงเป็นดอกบัวที่เสี่ยงมากทีเดียว มันเป็นเหตุที่ว่าเต่ามันก็จะกิน ปลามันก็จะกินได้ เพราะมันอยู่ในโคลน   จิตใจของเราก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้ามันหมกอยู่ใน ราคะ โทสะ โมหะ มันเหมือนอยู่ในโคลน มัจจุราชตามเอาเป็นอาหารหมดละ มันอยู่ในโคลน มันหนาแน่น มันไม่ได้ยิน [...]

ห้ามพระฉันเนื้อสัตว์ 10 อย่าง

| November 27, 2012

ห้ามพระฉันเนื้อสัตว์ 10 อย่าง  พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อมนุษย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสมีอยู่ เขาสละเนื้อของเขาถวายก็ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ รูปใดฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย อนึ่ง ภิกษุยังมิได้ พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ. พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อช้าง [๖๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ช้างหลวงล้มลงหลายเชือก สมัยอัตคัตอาหาร ประชาชน พากันบริโภคเนื้อช้าง และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อช้าง ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ฉัน เนื้อช้างเล่า เพราะช้างเป็นราชพาหนะ ถ้าพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบคงไม่ทรงเลื่อมใสต่อพระสมณะ เหล่านั้นเป็นแน่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ ห้ามแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อช้าง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ. พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อม้า สมัยต่อมา ม้าหลวงตายมาก สมัยอัตคัดอาหาร ประชาชนพากันบริโภคเนื้อม้า และ ถวายแก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อม้า ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ฉันเนื้อม้าเล่า เพราะม้าเป็นราชพาหนะ ถ้าพระเจ้าอยู่หัว [...]

ประวัติความเป็นมา วันลอยกระทง

| November 27, 2012

ประวัติความเป็นมา วันลอยกระทง วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา “มักจะ” ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป   ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ “กระทง” จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า “ลอยโคม” หรือ “ว่าวฮม” หรือ “ว่าวควัน” ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบอลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า “ยี่เป็ง” หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย) [...]

การอโหสิกรรมเป็นทานขั้นสูงสุด

| November 23, 2012

การอโหสิกรรมเป็นทานขั้นสูงสุด ในบรรดาการให้ทานนั้น ถ้าจัดลำดับผลจากการให้จากน้อยไปมากแล้ว มีลำดับตามนี้ วัตถุทาน ได้บุญน้อยที่สุด วิหารทาน ธรรมทาย อภัยทาน ได้บุญมากที่สุด   ความทุกข์สุขในปัจจุบันที่พวกเราประสบอยู่เกิดจากเหตุหลายอย่าง มิได้เกิดจากกรรมแต่ประการเดียว แต่ถ้าเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด พวกเราย่อมผ่านการตายเกิดมานับภพนับชาติไม่ถ้วน หลวงตาบัวท่านกล่าวว่า ถ้าเขียนบันทึกกรรมลงไปในหน้ากระดาษ จะพบว่าเมื่อนำหน้ากระดาษนั้นมาอ่าน จะอ่านตัวหนังสือที่บันทึกไว้ไม่ออกหรอก เพราะตัวหนังสือที่เขียนบันทึกแต่ละครั้งจะเขียนทับกันแน่นจนเป็นสีดำพืดไปหมด ดังนั้นพวกเราทุกคนต่างเป็นเจ้ากรรมนายเวรของใครต่อใครมามากมาย สะสมกรรมกันไว้นับภพนับชาติไม่ถ้วน หากยอมอโหสิกรรมให้แก่กันได้ ย่อมเกิดผลมหาศาล เหนือกว่าการให้วัตถุทานและวิหารทานที่ทำไว้ในชาตินี้เพียงชาติเดียว เป็นการให้ที่ส่งผลต่อตัวผู้ให้เอง และยังทำให้ผู้อื่นพ้นบ่วงกรรมที่จะต้องสืบต่อกันไปกลับไปกลับมาจนไม่รู้ว่าใครเป็นผู้เริ่มกรรมนั้นก่อน ซึ่งการให้อภัยทานเป็นการให้โอกาสที่ทำให้พ้นจากบ่วงกรรมนี้เองจึงถือเป็นการให้ทานอย่างสูง ผมเชื่อว่าเราทั้งหลายเมื่อเกิดมาแล้ว จะต้องเกิดในครอบครัวใดหรือไปทำงานหรือร่วมสังคมกับใคร ย่อมเกิดจากแรงจากผลกรรมในอดีตมิใช่น้อย หากเคยเป็นเจ้าหนี้เมื่อชาติก่อนแล้วยังแค้นใจอยากได้คืน ชาตินี้ก็เกิดมาเพื่อทวงหนี้กันอีก ยิ่งทุกวันนี้พวกเราใช้เวลาที่ทำงานกันมาก ใช้เวลาและทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับที่ทำงานจนมากกว่าให้กับครอบครัวเสียด้วยซ้ำ กรรมในที่ทำงานจึงน่าจะแรงกว่ากรรมอื่น ผมขอยกธรรมคำสอนที่เกี่ยวข้องกับการอภัยทานหรือการอโหสิกรรมมาให้ศึกษากัน การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก อภัยทาน คืออย่างไร ? อภัยทาน ก็คือการยกโทษให้ คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ อภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ อันใจที่แจ่มใส กับใจที่มืดมัว [...]

ทำไมบางคนเกิดมาพิการ

| November 20, 2012

ทำไมบางคนเกิดมาพิการ การเกิดเป็นผลของกรรม การเกิดเป็นมนุษย์ต้องเป็นเพราะผลของกรรมที่ดี คือ เป็น กุศลวิบาก อันเกิดจากเหตุคือการกระทำกุศลกรรมไว้ แต่ในความเป็นจริง กุศลกรรมที่ ทำนั้น มีความแตกต่าง ตามระดับความประณีตของกุศลที่แตกต่างกัน กุศลบางประเภท มีกำลัง ประกอบด้วยปัญญา เป็นต้น กุศลบางประเภทไม่ประกอบด้วยปัญญาก็มีกำลัง ประณีตน้อยกว่า กุศลที่ประกอบด้วยปัญญาและกุศลที่มีเวทนาที่เป็นอุเบกขาและไม่มี ปัญญา รวมทั้งเป็นสสังขาริกที่มีกำลังอ่อน ก็เป็นกุศลเหมือนกัน แต่เป็นกุศลกรรมที่มี กำลังอ่อนมาก ดังนั้น เมื่อกุศลกรรมที่มีกำลังอ่อนมากให้ผล ก็สามารถเกิดเป็นมนุษย์ได้ ครับ แต่เมื่อผลของกุศลกรรมอย่างอ่อนให้ผล ปฏิสนธิจิต เป็นชาติวิบากที่ไม่ประกอบ ด้วยเหตุ คือ อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก เป็นจิตที่มีกำลังอ่อน ไม่ประกอบด้วยเหตุ เพราะเกิดจากกุศลกรรมที่มีกำลังอ่อน จึงทำให้เกิดเป็นคนพิการตั้งแต่กำเนิด ผิด ปกติตั้งแต่กำเนิดครับ เช่น บ้า ใบ้ บอด หนวก หรือพิการทางสมอง เป็นต้นเพราะเกิด จากผลของกุศลกรรมอย่างอ่อนนำเกิดครับ อธิบายความผิดปกติ พิการที่เกิดหลังจากเกิดแล้ว ขณะที่พิการตั้งแต่กำเนิดแต่เกิดเป็นมนุษย์เป็นผลของกุศลกรรมอย่างอ่อนให้ผลใช่ ไหมครับ แต่ในกรณีที่พิการหลังจากเกิดแล้ว เกิดจากอกุศลกรรม ไม่ใช่กุศลกรรมอย่าง [...]

เเนะนำเวปไซต์น่าสนใจเกี่ยวกับประเพณีไทย

| November 16, 2012

เเนะนำเวปไซต์น่าสนใจเกี่ยวกับประเพณีไทย รวมบทความเวปน่าสนใจครับ ความรู้ทั้งนั้นครับพี่น้อง เกี่ยวกับสุขภาพ ไม่ว่าคุณจะวุ่นวายแค่ไหน ก็อย่าให้เขาพลาดมื้อเช้า เพราะการกินมื้อเช้าช่วยลดความเสี่ยงสุขภาพไปได้เยอะ ทั้งเรื่องหลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจ และอัลไซเมอร์ ลองดัดแปลงอาหารเช้าทำง่าย ๆ ได้สุขภาพมาแทน เช่น แซนวิชทูน่า หรือปลากะพงอบ ไข่คนใส่มะเขือเทศ ฯลฯ หากไม่มีเวลามาก คุณอาจซื้ออาหาร หรือทำเตรียมไว้ตั้งแต่ก่อนเข้านอน เช่น อบปลาแซลมอนหรือปลากะพงเพื่อเป็นไส้แซนด์วิช  ต้มซุปไก่ใส่มันฝรั่งแล้วเก็บเข้าตู้เย็น ก่อนกินมื้อเช้าก็นำมาอุ่นกินได้ทันที เริ่มต้นวันอย่างดีก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้วจริงไหม http://finehealthfit.exteen.com/ http://healthtakeprofit.blogspot.com/ http://healthfittoday.orgfree.com/ http://healthlowcost.orgfree.com เกี่ยวกับการทำเงิน refund : money that the government gives back to you when you pay too much in taxes, or have withheld too much from your [...]

ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ

| November 8, 2012

ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ประวัติความเป็นมา เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทง เริ่มมีมาแต่ สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าว ศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่า พิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีปและนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสอง มาใช้ใส่เทียนประ ทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอน ต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของ ไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า “นางนพมาศ” ประเพณีลอยกระทงนั้นมีมาแต่โบราณ โดยมีคติความเชื่อหลายอย่าง เช่น เชื่อว่าเป็นการบูชาและขอขมา แม่พระคงคาเป็นการสะเดาะเคราะห์ เป็น การบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น การลอยกระทงนิยมทำกัน ในวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกๆ ปี อันเป็นช่วงที่น้ำในแม่น้ำลำคลองขึ้นสูง ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง เป็นการขอขมาพระแม่คงคาที่มนุษย์ได้ใช้น้ำได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่ น้ำ เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมม ทานที ในประเทศอินเดีย เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ [...]

Free Web Hosting