บาปกรรมจากการฆ่าคนตาย ไม่มีการทำบุญทดเเทนใดๆทั้งสิ้น

| September 30, 2012

บาปกรรมจากการฆ่าคนตาย ไม่มีการทำบุญทดเเทนใดๆทั้งสิ้น ทัศนะจาก อาจารย์โกวิท เอนกชัย (เขมานันทะ) จาก หนังสือเรื่อง ชีวิตจริงของคนรับจ้างฆ่า (มือปืน) โดย อรสม สุทธิสาคร พักร้อนหลายวัน ประกอบกับร่างกายเจ็บป่วย ก็เลยมีโอกาสได้อ่านหนังสือ ไปอ่านพบบทความที่น่าสนใจ จึงขอนำมาฝากทุกคนค่ะ “การเข้าสู่ธรรมชาติของมนุษย์นั้น ต้องยืมสายพระเนตของพระพุทธเจ้า มีพระสูตรพูดถึงฐานะและอฐานะ ความเป็นไปได้และความเป็นไปไม่ได้ ในหมวดธรรมที่ว่าด้วยความเป็นไปได้นั้น ท่านอธิบายว่า มนุษย์ปุถุชนทุกคนเป็นไปได้ที่จะปลงชีวิตพ่อแม่หรือพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ได้ คือคนธรรมดาทุกคน โอกาสที่จะทำอย่างนั้นมี แต่สิ่งนี้เป็นไปไม่ได้สำหรับพระโสดาบันผู้บรรลุกระแสธรรมแล้ว ข้อนี้ผมเข้าใจว่าจะนำไปสู่ความเข้าใจและเห็นใจบุคคลที่เรามักจะมองหรือตัดสินเขาเป็นฆาตกรโดยกำเนิดหรือมีสันดานเป็นฆาตกร คนธรรมดาทั่วไปที่เรียกว่ากัลยาณชนหรือคนดีนั้น โอกาสที่ฆ่าพ่อแม่ก็มี ถ้ามีความบีบคั้นหรือลืมสติอย่างรุนแรง แม้พระโพธิสัตว์ในเรื่องชาดก เมื่อแม่ขัดขวางการปฏิบัติธรรมถึงกับทำร้ายร่างการแม่” “คนร้ายหรือฆาตกรน่าจะไดัรับการดูแลเพื่อปรับกระบวนทัศน์ด้วยวิธีหนึ่งวิธีใด มีสิ่งที่ผมเห็นว่าสำคัญมากก็คือการเคารพชีวิต ไม่ได้หมายถึงการเคารพชีวิตของคนดี คนที่ปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น” “ดูตัวอย่างจากพระไตรปิฎกบ้าง เรื่องของการลงทัณฑ์ คราวหนึ่งมีการถกประเด็นในเรื่องของทัณฑะสาม คือการลงทัณฑ์ในสามทวาร กายทัณฑะ วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ ถกกันว่าอันไหนมีผลร้ายแรงกว่ากัน ระหว่างกายกรรม มโนกรรม และวจีกรรม คือเรื่องหลักกรรมในพุทธศาสนานั่นเอง ศาสดาฝ่ายไชนะ ก็บอกว่ากายทัณฑะแรงกว่า อย่างเราคิดจะฆ่าเขา เป็นมโนกรรม แต่เราก็ไม่ได้ฆ่าเขาสักหน่อย [...]

บทสวดและคำขออโหสิกรรม

| September 27, 2012

บทสวดและคำขออโหสิกรรม อธิษฐานหน้าพระพุทธรูป หรือสวดก่อนนอนก็ได้ (นะโม 3 จบ) ” สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ”   หากข้าพเจ้า จงใจหรือประมาทพลาดพลั้งล่วงเกิน บิดา-มารดา ครูบาอาจารย์พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยสงฆ์เจ้า ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึงผู้มีพระคุณ และท่านเจ้ากรรมนายเวร จะด้วย กายวาจา ใจ ก็ดี ขอได้โปรดอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย หากข้าพเจ้ามีเจ้าของในตัวติดตามมา ขออนุญาต มีคู่ มีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป ขอถอนคำอธิษฐานคำสาบานที่จะติดตามคู่ในอดีต ขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระต่อกัน ข้าพเจ้าจะประพฤติตนในทางที่ถูกที่ชอบที่ควร ขอบุญบารมีในอดีตกาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จงส่งผลให้ข้าพเจ้าและครอบครัวตลอดจนบริวารที่เกี่ยวข้องจงเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ [...]

ประเพณีตักบาตรเทโวมีความสำคัญอย่าไง

| September 24, 2012

ประเพณีตักบาตรเทโวมีความสำคัญอย่าไง วันตักบาตรเทโวหมายถึง วันทำบุญตักบาตรในเทศกาลวันออกพรรษา ตามความเชื่อของพุทธศาสนิชน ว่าเป็นวันที่เสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์หลังจากเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดาเทโว ย่อมาจากคำว่า เทโวโรหนะ ซึ่งแปลว่า การหยั่งลงจาก เทวโลก หมายถึง การเสด็จลงจากเทวโลกของพระพุทธเจ้า ตามตำนาน กล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงเทศนาโปรดประชาชนในแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียตอนเหนือ ตั้งแต่ เมืองราชคฤห์ เมืองพาราณสี เมืองสาวัตถี ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นบิตุภูมิของพระองค์ ทรงเทศนาโปรดพระประยูรญาติทั้งหลายถ้วนหน้า แล้วทรงปรารถนาจะสนองพระคุณมารดา ซึ่งหลังประสูติพระองค์ ได้ ๗ วัน ก็สิ้นพระขนม์ และได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ฉะนั้นในพรรษาที่ ๗ หลังจากตรัสรู้พระพุทธองค์จึงเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่ง ถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงเสด็จลงจาก สวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะประชาชนพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น การตักบาตรเทโวนี้ บางวัดทำในวันออกพรรษา คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดก็ทำในวันรุ่งขึ้น คือวันแรม ๑ ค่ำ [...]

ประเพณีไทยเเห่นางเเมว

| September 24, 2012

ประเพณีไทยเเห่นางเเมว ประเพณีแห่นางแมว ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีขอฝนของชาวอีสานหลายๆคนคงจะเคยได้ยินมานะคะว่าชาวอีสานมีวิธีการขอฝนอยู่อย่างหนึ่งคือ ประเพณีการแห่นางแมว ซึ่งการแห่นางแมวเป็นพิธีอ้อนวอนขอฝน ซึ่งจำจัดทำขึ้นในปีใดที่ภาคอีสานในแต่ละท้องถิ่นแห่งแล้งฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล จนในปัจจุบันกลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตราบจนทุกวันนี้ค่ะ พิธีแห่นางแมวของชาวอีสานเพราะเชื่อว่าเหตุที่ฝนไม่ตกมีเหตุผลหลายประการ เช่น เกิดจากดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง,ประชาชนชาวเมืองหย่อนในศีลธรรม ,เจ้าเมืองหรือเจ้าแผ่นดินไม่ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม, เป็นต้น เหตุนี้ชาวเมือง ชาวอีสานจึงต้องทำพิธีอ้อนวอนขอฝน และการที่ต้องใช้แมวเป็นตัวประกอบสำคัญในการขอฝน เพราะเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ที่เกลียดฝน ถ้าฝนตกครั้งใดแมวจะร้องทันที ชาวอีสานจึงถือเอาเคล็ดที่แมวร้องในเวลาฝนตกว่า จะเป็นเหตุให้ฝนตกจริงๆ ชาวบ้านจึงร่วมมือกันสาดน้ำและทำให้แมวร้องมากที่สุดจึงจะเป็นผลดี และชาวอีสานเชื่อว่าหลังจากทำพิธีแห่นางแมวแล้วฝนจะตกลงมาตามคำอ้อนวอน และตามคำเซิ้ง ของนางแมว 1. กะทอหรือเข่งที่มีฝาปิดข้างบน 1 อัน 2. แมวสีดำตัวเมีย 1 ตัว 3. เทียน 5 คู่ 4. ดอกไม้ 5 คู่ 5. ไม่สำหรับสอดกะทอให้คนหาม 1 อัน ชาวบ้านรวมทั้งคนแก่คนหนุ่มและเด็กส่วนมากจะเป็นผู้ชาย ปรึกษาหารือกัน คนที่เป็นผู้นำกล่าวเซิ้ง เพื่อให้ผู้ไปแห่ทั้งหมดเป็นผู้ว่าตาม ส่วนใหญ่จะเป็นคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน2. หากะทอใบหนึ่งหรืออาจใช้เข่งก็ได้3. จับเอาแมวตัวเมียสีดำ 1 ตัวใส่ในกะทอ ใช้เชือกผูกปิดปากะทอไม่ให้แมวออกได้ และใช้ไม้สอดกะทอให้คนหา 2 คน [...]

ประเพณีการเทศน์มหาชาติ

| September 24, 2012

ประเพณีการเทศน์มหาชาติ ประเพณีการเทศน์มหาชาติ เป็นประเพณีทางศาสนาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านาน นับเนื่องขึ้นไปถึงก่อนสมัยสุโขทัย  เหตุที่ประเพณีเทศน์มหาชาติแพร่หลายและดำรงอยู่ในสังคมไทยก็เพราะความเชื่อที่ว่าการฟังเทศน์มหาชาติให้ครบ ๑๓ กัณฑ์ในวันเดียวจะทำให้ได้อานิสงส์ไปเกิดในยุคพระศรีอาริยเมตไตรย  ซึ่งชาวพุทธส่วนใหญ่จะมีความเชื่อว่าพระพุทธศาสนาของพระสมณโคดมจะถึงกาลเสื่อมสูญเมื่อมีอายุครบ ๕,๐๐๐ ปี  หลังจากนั้นพระศรีอาริยเมตไตรยจะมาอุบัติในโลก ประเพณีเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีสำคัญทั้งประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ ในด้านประเพณีหลวงนั้นจะถือว่าเป็นพระราชพิธีใหญ่ของราชสำนัก  พระมหากษัตริย์จะทรงอุปถัมภ์และดูแลการเทศน์มหาชาติ  โดยจัดให้มีการเทศน์ในพระบรมมหาราชวัง  มีวรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการเทศน์มหาชาติโดยเฉพาะ  เช่นเดียวกับชาวบ้านก็จะมีมหาชาติฉบับท้องถิ่นต่าง ๆเป็นของตนเอง  ทำให้การเทศน์มหาชาติของแต่ละท้องถิ่นได้ผสานความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นเข้ามาด้วย  อย่างไรก็ตามลักษณะร่วมกันของประเพณีเทศน์มหาชาติของท้องถิ่นต่าง ๆ ก็คือการเชื่อในเรื่องอานิสงส์ของการเทศน์มหาชาติ การเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีของชุมชน  ซึ่งต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจและศรัทธาของชุมชนเป็นหลัก  เมื่อทางวัดดำริจะจัดงานเทศน์มหาชาติจึงจำเป็นต้องปรึกษาหารือกับคณะศรัทธาของวัด  เมื่อเห็นพ้องต้องกันจึงจัดหาผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ  บางแห่งก็ร่วมมือกันหลายคนเป็นเจ้าภาพกัณฑ์ใดกัณฑ์หนึ่ง  ดังนั้นการเทศน์มหาชาติในชุมชนต่างๆ  จึงแสดงให้เห็นถึงความสามัคคี  ความยินดีปรีดาที่จะได้รื่นเริงร่วมกัน  การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเพราะเป็นการรวมญาติพี่น้อง และสร้างความปรองดองระหว่างกัน  ตลอดจนเป็นการสร้างกุศลร่วมกันเพื่อเป็นเนื้อนาบุญสืบต่อมายังลูกหลาน ปัจจุบันการเทศน์มหาชาติได้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก  แม้ว่าจะคงมีการจัดงานเทศน์มหาชาติอยู่อย่างต่อเนื่องก็ตาม  ท้องถิ่นบางแห่งได้จัดงานเทศน์มหาชาติจนกลายเป็นงานสำคัญของจังหวัด เช่น จังหวัดร้อยเอ็ดกับจังหวัดเลย ที่มีการจัดงานเทศน์มหาชาติอย่างใหญ่โตจนกลายเป็นงานท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับชาติ  ผู้ที่ทำหน้าที่จัดงานจึงเป็นหน่วยงานราชการต่าง ๆที่ร่วมมือกันส่งเสริมการท่องเที่ยว ทำให้ขาดลักษณะของการทำบุญของ “คณะศรัทธา” ในท้องถิ่น และทำให้การเทศน์มหาชาติ ถูกประยุกต์เข้ากับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจนไม่เหลือเค้าของประเพณีดั้งเดิม นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ก็เป็นเจ้าภาพจัดงานเทศน์มหาชาติ ทำให้สถานที่จัดงานเปลี่ยนจากวัดมาเป็นสถานที่ของหน่วยงานเพื่อความเป็นสิริมงคลของหน่วยงานนั้นๆ อย่างไรก็ตาม แม้การเทศน์มหาชาติในปัจจุบันจะปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่ก็แสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนิกชนยังยึดมั่นอยู่กับหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนา และดำรงไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามของไทยให้อยู่คู่สังคมไทยตลอดไป เรียบเรียงโดย : [...]

ประเพณีทอดผ้าป่า

| September 24, 2012

ประเพณีทอดผ้าป่า ประเพณีทำพุ่มผ้าป่าหรือทอดผ้าป่า กระทำควบคู่กับประเพณีลากพระ ประเพณีนี้จะทำในคืนซึ่งในวันรุ่งขึ้นจะมีประเพณี ลากพระ มีทำกันเฉพาะในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานีเท่านั้น แท้ที่จริงตั้งแต่เดิมมาประเพณีนี้เป็นพิธีหนึ่งทางพุทธศาสนา ที่กระทำสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล คือพระพุทธองค์อนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์แสวงหาผ้าบังสกุล คือ ผ้าเปื้อนฝุ่นที่ไม่มีเจ้าของ ที่ทิ้งอยู่ตามป่าดงบ้าง ห่อศพท้องไว้ตามป่าช้าบ้าง หรือเศษผ้าที่ทิ้งอยู่ตามถนนหนทางบ้าง นำมาซักตัดเย็บด้วยตนเองให้เป็นจีวรใช้ ต่อมาเมื่อบรรดาพุทธศาสนิกชนสมัยนั้นเห็นความลำบากของพระภิกษุ จึงได้นำผ้าดีๆ ไปแขวนทิ้งไว้ตาม ริมทางหรือตามป่าช้า ข้างทางที่พระจะผ่านไปมา เพื่อพระจะได้นำไปใช้ประโยชน์ประเพณีทำพุ่มผ้าป่าที่กระทำกันในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะในอำเภอเมืองฯ ในการจัดพุ่มผ้าป่าจะจัดไว้ที่หน้าบ้าน ของตน โดยใช้ตนไม้หรือกิ่งไม้ปักไว้ในที่ดังกล่าวตั้งแต่หัวค่ำของคืนวันขึ้น 16 ค่ำ เดือน 11 อาคารบ้านเรือนและร้านค้าจะจัด พุ่มผ้าป่ากันอย่างสวยงาม คือ บางบ้านที่มีกำลังทรัพย์ มีกำลังคนมาก นอกจากจะมีต้นไม้หรือกิ่งไม้ไว้ โดยมีผ้าเหลือง 1 ผืน ห้อยไว้ ยังมีสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุนำมาผูกไว้ที่กิ่งไม้ด้วย เช่น ปิ่นโต ธูป เทียน ยาสีฟัน ไม้ขีด น้ำมัน และยังจัดเป็นซุ้ม โดยจัดเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ พุทธประวัติ ชาดก สวรรค์ นรก และอื่นๆ [...]

ทำไมต้องไว้ศพ 100 วัน

| September 24, 2012

ทำไมต้องไว้ศพ 100 วัน พิธีศพ            ประเพณีเกี่ยวกับศพ มักจะผิดแผกแตกต่างกันไปตามความนิยมของบุคคลในท้องถิ่นนั้น ๆ แต่ส่วนใหญ่คงลักษณะการประกอบพิธีไว้เป็นแนวเดียวกัน จะนำมากล่าวพอเป็นแนวทางปฏิบัติเฉพาะบางตอน ที่อนุศาสนาจารย์ปฏิบัติช่วยเหลืออยู่เป็นประจำเท่านั้น การตั้งศพ   เมื่อตั้งศพและจัดดอกไม้ธูปเทียนประดับเรียบร้อยแล้ว ให้ตามไฟ (ตะเกียงมีโคมหรี่ไว้ปลายเท้า 1 คู่) ในพิธีทางราชการ   เมื่ออาบน้ำศพและนำศพขึ้นตั้งเรียบร้อยแล้ว จะนิมนต์พระ 10 รูป หรือ 20 รูป สดับปกรณ์ (บังสุกุล) จบแล้วถวายไทยธรรมพระสงฆ์อนุโมทนา กรวดน้ำ ก็เป็นเสร็จพิธี แต่ศพชาวบ้านทั่วไป ปัจจุบันนิยมนิมนต์พระสงฆ์มา 10 รูป หรือหลายรูปก็แล้วแต่ศรัทธาของเจ้าภาพ เมื่อพระมาถึงแล้ว ทอดผ้าบังสุกุลบนหีบศพ หรือบนที่ที่เตรียมไว้ นิมนต์พระชักผ้าบังสุกุล (จะเป็นผ้าไตร, จีวร, สบง, ผ้าเช็ดตัว, ผ้าเช็ดหน้า ก็ได้) เมื่อพระชักผ้าบังสุกุลแล้ว ก็เป็นอันเสร็จพิธีในตอนนี้ ลำดับพิธีในการสวดพระอภิธรรม -  ได้เวลานิมนต์พระประจำที่ -  เจ้าภาพจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย จุดเทียนธูป [...]

ประเพณีกวนข้าวทิพย์มีความสำคัญอย่างไร

| September 24, 2012

ประเพณีกวนข้าวทิพย์มีความสำคัญอย่างไร ข้าวมธุปายาส (ข้าวสุกหุงด้วยนมโคจืดด้วยน้ำผึ้ง) ก่อนพุทธกาล (๒๖๓๒) เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร ได้เสด็จออกทรงผนวช ได้เสวยข้าวทิพย์ของนางสาวสุชาดา บุตรีมหาเศรษฐีแห่งบ้านเสนานิคม ก่อนแต่งงานได้ไปบนกับเทวดาที่ต้นไทรว่า ขอให้ได้แต่งงานกับชายที่มีสกุลและฐานะเสมอกันและได้บุตรคนแรกเป็นชาย ต่อมานางก็สมปรารถนา จึงได้จัดแจงรีดน้ำนมจากแม่โค การรีดนมจากแม่โควันนั้นรีดง่ายเกินคาด แม้ว่าลูกโคไม่ได้กินนมในวันนั้น เมื่อนำภาชนะเข้าไปรอง กลับมีน้ำนมไหลออกมาเอง นางสุชาดาจึงจัดแจงปรุงข้าวมธุปายาสไปแก้ขนที่ต้นไทร นางสุชาดาได้พบพระมหาบุราคิดว่าเป็นเทวดา จึงทำพิธีแก้บนถวายภัตตาหารมื้อแรกที่พระองค์เสวยข้าวมธุปยาส (ข้าวทิพย์) แล้วตรัสรู้ ในวันนั้นพระมหาบุรากลับจากเที่ยวภิขาจารแต่เช้าได้ประดับอยู่ ณ โคนต้นไทรนั้น นางสุชาดาพบเข้าสำคัญว่าเป็นเทวดา จึงได้นำข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย เมื่อพระองค์ได้รับแล้ว ก็เสด็จขึ้นทำข้าวมธุปายาสหรือข้าวทิพย์นั้นได้ ๔๙ ก้อน เสวยเสร็จแล้วทรงลอยถาดทองเสียในแม่น้ำ ทรงรับหญ้าคา ๘ กำ จากโสตถิยพราหมณ์ แล้วเสด็จขึ้นโพธิมณฑลประทับที่ใต้ต้นโพธิพฤกษ์ ได้บรรลุพระสัพพัญญูตญาณเป็นพระพุทธเจ้า ในวันเพ็ญวิสาขปุณมี ทรงเสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ บริเวณโพธิมณฑลนั้นเป็นเวลา ๗ วัน คือ พุทธคยาในประเทศอินเดีย ประวัติตามศิลาจารึก ๑ วัดพระเชตุพนฯ กล่าวถึงชาวรามัญหุงข้าวทิพย์บูชาเทวดาผู้มีฤทธิ์เดช ๕ องค์ แต่คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ได้กล่าวถึงการกวนข้าวทิพย์เอาไว้ มีแต่การหุงข้าวมธุปายาส เมื่อตกมาเป็นพิธีไทยแล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมแก่กาลเทศะรสนิยมคนไทย ข้าวทิพย์นี้ เนื่องมาจากข้าวมธุปายาสของพราหมณ์หุงรับประทานกันไม่มีกำหนดแน่นอน [...]

ความเป็นมาประเพณีรำผีฟ้า

| September 24, 2012

ความเป็นมาประเพณีรำผีฟ้า มาดูประเพณีรำผีฟ้ากันครับ คิดไปคิดมาบ้านเราเนี่ยก็มีประเพณีเกี่ยวกับผีมากมายเหมือนกันนะครับลองดูครับว่า ประเพณีรำผีฟ้านี่มันยังไงกันนะครับ  ประเพณีฟ้อนผีฟ้า วัฒนธรรมของคนโบราณยึดถือลัทธิเทวราชในการดำเนินชีวิต มีพระประมุขเป็นองค์สมมุติเทพ โดยถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดินว่าผีฟ้า ต่อมาคนไทยได้ยึดถือธรรมะเป็นหลักในการดำเนินชีวิต แต่ยังมิได้ละเลยต่อความเชื่อในด้านภูตผีวิญญาณแบบดั้งเดิม ทั้งนี้มีผลมาจากความเชื่อที่ว่าคนเราเมื่อตายไปแล้ววิญญาณจะยังคงอยู่ ดังเช่นในตอนท้ายในการทำบุญพิธีทุกครั้งจะต้องมีการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้วความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์และอัญเชิญให้สิ่งเหล่านี้มาร่วมในพิธีกรรมต่างๆ ยังคงยึดถือปฏิบัติมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ในพิธีกรรมทุกอย่างจะมีบทกล่าวนำเรียกชุมนุมเทวดา เพื่ออัญเชิญเทพกเฬวรากและภูตผีปีศาจทุกระดับชั้นมาร่วมพิธี ทั้งนี้ยังแสดงถึงความพยายามของคนไทยที่จะนำเอาโลกมนุษย์เข้าไปรวมกับโลกของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ส่วนมากคนไทยจะนับถือด้วยการเอาอกเอาใจ เพื่อขอความกรุณาปรานีและช่วยเหลือในยามตกทุกข์ได้ยาก แต่ก็ยังมีบางคนที่สามารถบังคับภูตผีด้วยเวทย์มนต์คาถาไปกระทำการงานดังที่ดังที่ตนได้กำชับไป บางรายก็บังคับผีให้ไปเข้าสิงสู่ร่างคน เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดป่วยหรือไม่สามารถกระทำงานใดๆได้ อาการของผีที่เข้าสิงร่างมนุษย์มีหลายแบบ เช่น ถ้าสิงร่างคนปกติจะมีกริยาท่าทางเปลี่ยนไปทันที เป็นต้นว่าอยู่ดีๆ เกิดตัวสั่นเป็นลมล้มชักตาตั้ง ร้องไห้ไม่หยุด หากเป็นคนไข้ที่นอนซมป่วยอยู่ก่อนแล้ว เชิญแพทย์มารักษาก็ไม่หาย อย่างนี้ไปหาหมอผีมาทำพิธีรักษาตามตำหรับที่ได้ร่ำเรียนมา เริ่มตั้งแต่ถามไถ่ว่าผีอะไรมาเข้าสิงผู้ป่วย หากเป็นผีปู่ตามาเข้าสิงก็รักษาง่ายเพียงให้คนแก่ในบ้านจัดดอกไม้ธูปไว้ไหว้ขอขมาก็หาย สำหรับผู้ที่ป่วยอาการรักษายากมีอาการน่าเป็นห่วง รักษาเท่าใดก็ไม่หาย อาการมีแต่ทรงกับทรุด แบบนี้ต้องไปตามหมอพระมาตรวจดูอาการไข้ รวมทั้งหมอผีจะอัญเชิญผีฟ้ามาช่วยรักษาเพราะพวกหนึ่งเป็นฝ่ายธรรมะ อีกพวกหนึ่งเป็นฝ่ายภูตผีปีศาจ ย่อมมีวิธีการที่ดีกว่า นอกจากผีฟ้าจะช่วยรักษาคนป่วยแล้ว หากผู้ป่วยรายใดผีฟ้ารักษาไม่ได้ หมอผีจะหันไปหาเจ้าพ่อ เพื่อถามเรื่องดวงชะตาของผู้ป่วยให้แน่ชัดถึงฆาตหรือยังความเชื่อเหล่านี้สืบเนื่องมานาน นับตั้งแต่ยุคสมัยที่แผ่นดินอีสานยังเป็นป่ารกทึบ การไปมาหาสู่ลำบากลำบนและเต็มไปด้วยอันตรายจากสัตว์ร้าย ผีฟ้า คือตัวแทนอำนาจที่อยู่เหนือสิ่งมีชีวิต คอยบันดาลความสุข รักษาให้หายจากภัยแห่งโรค ด้วยวิธีการฟ้อนซึ่งมักจะสำเร็จทุกราย แต่ผีฟ้าเหล้านี้ขึ้นตรงต่อพระองค์เจ้าตื้อแห่งภูพระ ซึ่งเป็นภูเขาเตี้ย ๆ อยู่ในท้องที่ตำบลนางเสียว อำเภอเมือง [...]

ประเพณีชักพระมีความเป็นมาอย่างไร

| September 24, 2012

ประเพณีชักพระมีความเป็นมาอย่างไร ผมนี่จะอายุ 28 เเล้วยังไม่รู้เลยว่าประเพณีชักพระเนี่ยคืออะไร ถ้าได้ยินก็คงคิดว่าเเบกพระอะไรซักอย่างเนี่ยเป็ฯต้น ครับ เเต่ถ้าจะเอาความหมายจริงๆ เนี่ยเเต่งต่างอย่างสิ้นเชิงครับ ลองอ่านกันดูครับ ว่าประเพณีชักพระมีความเป็นอย่างไรลองอ่านกันดูครับพี่น้องประเพณีชักพระ(ลากพระ) ประเพณีชักพระเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวใต้ ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเชื่อกันว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จมายังโลกมนุษย์  พุทธศาสนิกชนจึงมารอรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธ เจ้าขึ้นประทับบน บุษบกแล้วแห่ไปรอบเมืองประวัติความเป็นมา ประเพณีชักพระเป็นประเพณีทพราหมณ์ศาสนิกชนและพุทธศาสนิกชนปฏิบัติสืบต่อกันมา  สันนิษฐานว่าประเพณีนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอินเดีย ที่นิยมเอา เทวรูปออกแห่ในโอกาสต่าง ๆ  ต่อมาพุทธศาสนิกชนได้นำเอาคติความเชื่อดังกล่าวมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเชื่อทางพุทธศาสนา  ประเพณีชักพระเล่ากันเป็นเชิงพุทธตำนาน ว่า หลังจากพระพุทธองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหารย์ปราบเดียรถีย์ ณ ป่ามะม่วง กรุงสาวัตถี แล้วได้เสร็จไปจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา ซึ่งขณะนั้นทรงจุติเป็นมหามายาเทพ สถิตอยู่ ณ ดุสิตเทพพิภพตลอดพรรษา พระพุทธองค์ทรงประกาศพระคุณของมารดาแก่เทวสมาคมและแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา 7 คัมภีร์ จนพระมหามายาเทพและเทพยดา ในเทวสมาคมบรรลุโสดาบันหมด ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน [...]

Free Web Hosting