ประเพณีตักบาตรเทโวมีความสำคัญอย่าไง

Posted By on September 24, 2012

ประเพณีตักบาตรเทโวมีความสำคัญอย่าไง

วันตักบาตรเทโวหมายถึง วันทำบุญตักบาตรในเทศกาลวันออกพรรษา ตามความเชื่อของพุทธศาสนิชน ว่าเป็นวันที่เสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์หลังจากเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดาเทโว ย่อมาจากคำว่า เทโวโรหนะ ซึ่งแปลว่า การหยั่งลงจาก เทวโลก หมายถึง การเสด็จลงจากเทวโลกของพระพุทธเจ้า ตามตำนาน กล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงเทศนาโปรดประชาชนในแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียตอนเหนือ ตั้งแต่ เมืองราชคฤห์ เมืองพาราณสี เมืองสาวัตถี
ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นบิตุภูมิของพระองค์ ทรงเทศนาโปรดพระประยูรญาติทั้งหลายถ้วนหน้า แล้วทรงปรารถนาจะสนองพระคุณมารดา ซึ่งหลังประสูติพระองค์ ได้ ๗ วัน ก็สิ้นพระขนม์ และได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ฉะนั้นในพรรษาที่ ๗ หลังจากตรัสรู้พระพุทธองค์จึงเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่ง ถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงเสด็จลงจาก สวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะประชาชนพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น การตักบาตรเทโวนี้
บางวัดทำในวันออกพรรษา คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดก็ทำในวันรุ่งขึ้น คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ทั้งนี้ แล้วแต่ความตกลงร่วมใจทั้งทางวัดและทางบ้าน พิธีที่ทำนั้นทางวัดอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้ง อยู่บนล้อเลื่อนหรือคานหาม มีบาตรขนาดใหญ่ใบหนึ่งตั้งไว้หน้าพระพุทธรูป มีคน ลากล้อเลื่อนไปช้า ๆ นำหน้าพระสงฆ์ สามเณร ซึ่งถือบาตรเดินเรียงไปตามลำดับ พุทธศาสนิกชนต่างก็นำข้าว อาหารหวานคาว มาเรียงรายกันอยู่เป็นแถวตามแนวทางที่รถบุษบกเคลื่อนผ่าน คอยตักบาตร อาหารที่นิยมตักในวันนั้น นอกจากข้าวและอาหารคาวหวาน ธรรมดาแล้วก็จะมีข้าวต้มลูกโยนด้วย ซึ่งบางท่านสันนิษฐานว่าในครั้งนั้นผู้คนรอใส่บาตรกันแออัดมาก เข้าไม่ถึงพระ จึงใช้ข้าวก่อ หรือปั้นโยนลงบาตร ประเพณีการตักบาตรเทโวนี้
เนื่องมาจากการเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อมีเหตุการณ์อะไรปรากฏในตำนาน ก็จะปรารภเหตุนั้นๆ เพื่อบำเพ็ญบุญกุศลเช่นการถวายทาน รักษาศีล เป็นต้น ตักบาตรเทโวจึงเป็นการทำบุญอย่างมโหฬารของพุทธศาสนิกชน นับแต่นั้นมช่วงเวลา แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ความสำคัญคำว่า เทโว ย่อมาจาก เทโวโรหณะ หมายถึง การหยั่งลงมาจากเทวโลก ซึ่งหมายถึงพระพุทธองค์เสด็จลงมาจากเทวโลกตามตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าได้ประกาศพระศาสนาตั้งแต่ตอนเหนือของประเทศอินเดียมาถึงตอนล่าง และได้เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นปิตุภูมิ ได้ทรงแสดงเทศนาโปรดพระบิดา พระมารดา พระนางพิมพาและพระราหุล ตลอดจนพระประยูรญาติทั้งหลาย แล้วได้เสด็จขึ้นไปยังสวรรค์ชั้นดุสิต เพื่อทรงแสดงธรรมเทศนาพระอภิธรรมแด่พระพุทธมารดาและปวงเทวดาทั้งหลายตลอดพรรษา
จึงเสด็จมายังมนุษย์โลกในวันที่เสด็จกลับมานั้นมีประชาชนไปถวายการต้อนรับพระองค์เป็นจำนวนมาก ประชาชนเหล่านั้นต่างปิติยินดีด้วยการนำจตุปัจจัยใส่บาตรประเพณีตักบาตรเทโวของสุโขทัย มีการจัดงานประเพณีตักบาตรเทโวหลายแห่งเท่าที่ปรากฏและมีชื่อเสียงคือ งานตักบาตรเทโวของวัดราชธานี อำเภอเมืองสุโขทัย และวัดน้ำขุม อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย วัดราชธานีมีการจัดงานตักบาตรเทโวมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๔๐ ปี มีการทำบุญตักบาตร ใส่บาตรข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มลูกโยน เพราะความเชื่อที่ว่าพระพุทธองค์เสด็จลงมาจากเทวโลกมีผู้มาต้อนรับมากมายทำให้ไม่สามารถเข้าใกล้พระพุทธองค์ได้ ต้องโยนอาหารลงในบาตร มีกีฬาทางน้ำคือการแข่งเรือในแม่น้ำยม โดยเชิญเรือจากหลายแหล่งมาร่วมแข่งขันบางปีได้เชิญเรือจากต่างจังหวัดมาร่วมแข่งด้วยสำหรับการงานประเพณีตักบาตรเทโวของวัดน้ำขุม
ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ โดยมีครูย่อม จันทร์สุข เป็นผู้นำและร่วมกับศรัทธาชาวบ้านจัดทำ บุษบก ศีรษะพระอินทร์ พระพรหม พระอิศวร ยมบาล และหัวสัตว์นรกต่าง ๆ เช่น เปรต สุนัข ลิง ฯลฯ ตลอดจนเครื่อง แต่งกายนางฟ้า เทวดา เป็นต้นการจัดทำอุปกรณ์จัดงานตักบาตรเทโวในวัดน้ำขุมนั้น เป็นงานศิลปะที่เกิดจาภูมิปัญญาชาวบ้านในส่วนท้องถิ่นล้วน ๆ เพราะชาวบ้านได้ช่วยกันประดิษฐ์ไปตามจินตนาการ แม้ในปัจจุบันรูปแบบก็ยังจัดในรูปแบบเดิม แต่มีอุปกรณ์เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม
พิธีกรรมก่อนจะถึงวันงานคณะกรรมการจะได้เชิญชาวบ้านส่งบุตรหลานมาเป็นเทวดา นางฟ้า และผู้เข้าร่วมขบวนแห่ ปัจจุบันขบวนแห่งานตักบาตรเทโวจะเริ่มที่หน้าวัดหนองแหนซึ่งอยู่ห่างจากที่จัดงานประมาณ ๒ กิโลเมตรเศษ ในขบวนจะประกอบด้วย กลองยาว บุษบกสำหรับประดิษฐาน พระพุทธรูป พระอินทร์ พระพรหม เทพบุตร นางฟ้า ฤาษี ขอทานและสัตว์นรกจำนวนมาก เมื่อเริ่มขบวนชาวบ้านจะพากันมาคอยร่วมทำบุญตักบาตร ซึ่งเป็นข้าวสารอาหารแห้ง การเคลื่อนขบวนจะเป็นไปอย่างช้า ๆ ให้พระภิกษุรับบาตร
สาระงานตักบาตรเทโวเป็นงานที่ช่วยสร้างความสมัครสมานสามัคคีให้แก่ชาวบ้านอย่างมากเป็นเครื่องควบคุมสังคมให้ละ ลด เลิกอบายมุข หันหน้าเข้าวัดเพื่อทำบุญ จึงมีส่วนช่วยให้สังคมเกิดสันติสุขเป็นอย่างดี

About the author

Comments

Leave a Reply

Free Web Hosting