ความเป็นมาประเพณีรำผีฟ้า

Posted By on September 24, 2012

ความเป็นมาประเพณีรำผีฟ้า

มาดูประเพณีรำผีฟ้ากันครับ คิดไปคิดมาบ้านเราเนี่ยก็มีประเพณีเกี่ยวกับผีมากมายเหมือนกันนะครับลองดูครับว่า ประเพณีรำผีฟ้านี่มันยังไงกันนะครับ
 ประเพณีฟ้อนผีฟ้า
วัฒนธรรมของคนโบราณยึดถือลัทธิเทวราชในการดำเนินชีวิต มีพระประมุขเป็นองค์สมมุติเทพ โดยถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดินว่าผีฟ้า ต่อมาคนไทยได้ยึดถือธรรมะเป็นหลักในการดำเนินชีวิต แต่ยังมิได้ละเลยต่อความเชื่อในด้านภูตผีวิญญาณแบบดั้งเดิม ทั้งนี้มีผลมาจากความเชื่อที่ว่าคนเราเมื่อตายไปแล้ววิญญาณจะยังคงอยู่ ดังเช่นในตอนท้ายในการทำบุญพิธีทุกครั้งจะต้องมีการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้วความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์และอัญเชิญให้สิ่งเหล่านี้มาร่วมในพิธีกรรมต่างๆ ยังคงยึดถือปฏิบัติมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
ในพิธีกรรมทุกอย่างจะมีบทกล่าวนำเรียกชุมนุมเทวดา เพื่ออัญเชิญเทพกเฬวรากและภูตผีปีศาจทุกระดับชั้นมาร่วมพิธี ทั้งนี้ยังแสดงถึงความพยายามของคนไทยที่จะนำเอาโลกมนุษย์เข้าไปรวมกับโลกของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ส่วนมากคนไทยจะนับถือด้วยการเอาอกเอาใจ เพื่อขอความกรุณาปรานีและช่วยเหลือในยามตกทุกข์ได้ยาก แต่ก็ยังมีบางคนที่สามารถบังคับภูตผีด้วยเวทย์มนต์คาถาไปกระทำการงานดังที่ดังที่ตนได้กำชับไป บางรายก็บังคับผีให้ไปเข้าสิงสู่ร่างคน เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดป่วยหรือไม่สามารถกระทำงานใดๆได้ อาการของผีที่เข้าสิงร่างมนุษย์มีหลายแบบ เช่น ถ้าสิงร่างคนปกติจะมีกริยาท่าทางเปลี่ยนไปทันที เป็นต้นว่าอยู่ดีๆ เกิดตัวสั่นเป็นลมล้มชักตาตั้ง ร้องไห้ไม่หยุด หากเป็นคนไข้ที่นอนซมป่วยอยู่ก่อนแล้ว เชิญแพทย์มารักษาก็ไม่หาย อย่างนี้ไปหาหมอผีมาทำพิธีรักษาตามตำหรับที่ได้ร่ำเรียนมา เริ่มตั้งแต่ถามไถ่ว่าผีอะไรมาเข้าสิงผู้ป่วย
หากเป็นผีปู่ตามาเข้าสิงก็รักษาง่ายเพียงให้คนแก่ในบ้านจัดดอกไม้ธูปไว้ไหว้ขอขมาก็หาย สำหรับผู้ที่ป่วยอาการรักษายากมีอาการน่าเป็นห่วง รักษาเท่าใดก็ไม่หาย อาการมีแต่ทรงกับทรุด แบบนี้ต้องไปตามหมอพระมาตรวจดูอาการไข้ รวมทั้งหมอผีจะอัญเชิญผีฟ้ามาช่วยรักษาเพราะพวกหนึ่งเป็นฝ่ายธรรมะ อีกพวกหนึ่งเป็นฝ่ายภูตผีปีศาจ ย่อมมีวิธีการที่ดีกว่า นอกจากผีฟ้าจะช่วยรักษาคนป่วยแล้ว หากผู้ป่วยรายใดผีฟ้ารักษาไม่ได้ หมอผีจะหันไปหาเจ้าพ่อ เพื่อถามเรื่องดวงชะตาของผู้ป่วยให้แน่ชัดถึงฆาตหรือยังความเชื่อเหล่านี้สืบเนื่องมานาน นับตั้งแต่ยุคสมัยที่แผ่นดินอีสานยังเป็นป่ารกทึบ
การไปมาหาสู่ลำบากลำบนและเต็มไปด้วยอันตรายจากสัตว์ร้าย ผีฟ้า คือตัวแทนอำนาจที่อยู่เหนือสิ่งมีชีวิต คอยบันดาลความสุข รักษาให้หายจากภัยแห่งโรค ด้วยวิธีการฟ้อนซึ่งมักจะสำเร็จทุกราย แต่ผีฟ้าเหล้านี้ขึ้นตรงต่อพระองค์เจ้าตื้อแห่งภูพระ ซึ่งเป็นภูเขาเตี้ย ๆ อยู่ในท้องที่ตำบลนางเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทศเหนือ 12 กิโลเมตร พระเจ้าองค์ตื้อเป็นพระพุทธรูปลาย

จำหลักนูนต่ำติดแผ่นผา นั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่พระเพลา พระหัตถ์ซ้ายวางพาดอยู่ที่พระชงฆ์ ขนาดหน้าตัก5 ฟุต สูง 7 ฟุต รอบข้างปรากฏเป็นรอยแกะหินปูนพระสาวกอีก 7 องค์บรรดาผีฟ้าต่างก็เป็นบริวารของพระองค์เจ้าตื้อ ส่วนร่างทรงก็จะถ่ายทอดกันต่อๆไป จากยายสู่แม่ จากแม่สู่ลูกสาว เขามีวิธีเชิญ มีวิธีบอก แยกย้ายกันอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ เมื่อถึงปีร่างทรงเหล่านี้ก็จะมารวมตัวกันที่นี่ มาฟ้อนไหว้พระองค์เจ้าตื้อ ลูกศิษย์ของเขาก็จะติดตามมาเป็นขบวนใหญ่ มีการรวมเงินทองมาทำบุญ สร้างถาวรวัตถุต่างๆขึ้น ผู้คนที่เดินทางมาสักการบูชาพระเจ้าตื้อ มักจะขออะไรก็สมปรารถนา บางคนอาจมาขอบนลูก มิช้านานก็สัมฤทธิ์ผล ต่อจากนั้นก็เข้าสู่ขั้นตอนในการประกอบพิธี

เครื่องประกอบพิธีมีดังนี้1. พระองค์เจ้าตื้อ2. คนทรง ( นางเทียม )3. สิ่งของที่ผีฟ้าอยากได้4. หมอแคน5. พุ่มบายศรี6. ผ้าไตร
                             7. ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ที่ทำจากกระดาษสี
ขั้นตอนในการประกอบพิธี
      การฟ้อนผีฟ้าจะกระทำขึ้นในระหว่างวันขึ้น 13 ถึง15 ค่ำ เดือน 5 คือเดือนเมษายน และ ในวันเข้าพรรษา ออกพรรษา ซึ่งประชาชนไปทำบุญกันมาก ความหมายของการกลับสู่เหย้าของชาวอีสานนั้น นอกจากมากราบไหว้ผู้บังเกิดเกล้าของตนแล้ว เขาจะพากันไปกราบไหว้พระเจ้าตื้อ นอกจากนั้นยังมีการร่ายรำบางสรวงที่เรียกว่า ฟ้อนผีฟ้า เพื่อเป็นการเส่นสรวงที่พระองค์เจ้าตื้อ ได้บันดาลให้พวกเขามีความร่มเย็นเป็นสุขในรอบปีที่ผ่านมาอีกด้วย นางเทียมทุกคนจะนั่งสงบในท่าสมาธิ และ  ประนมมือ ในระหว่างทำพิธีจะมีหมอแคนขับกล่อมนางเทียม เมื่อผีฟ้าเข้าสิงจะมีอาการตัวสั่น  กระทืบเท้า แล้วสั่งให้หาเครื่องแต่งตัวตามที่ชอบมาสวมใส่ ซึ่งแต่ละคนจะทราบแล้วว่าแต่ละองค์นั้น
ชอบแต่งตัวชนิดใด เช่นผีฟ้าผาแดง ชอบผ้าสีแดง สไบแดงและดอกไม้แดง เป็นต้น บางคนก็โพกผ้าขามม้าผ้าไหม เคี้ยวหมากพลู กินเหล้า บางคนก็สูบบุหรี่ผสมพริกขี้หนู โดยปราศจากอาการไอหรือจาม เมื่อแต่งตัวเสร็จก็ลุกขึ้นรำ บางองค์ ก็ลุกขึ้นร่ายรำเป็นจังหวะเข้ากับเสียงแคน สุดแต่ทำนองแคนจะพาไป ซึ่งโดยมากเป็นพญาลอบทจรนี้ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “ ล่องโขง ” บ้าง “ แมลงภู่ชมดอกไม้ ” บ้าง ชาวบ้านตามแถบนั้นถ้าใครเจ็บป่วยต้องการอยากรู้ข่าวถึงยาติพี่น้องที่อยู่ห่างไกลว่าเป็นอย่างไร โดยมากมักจะบอกได้เป็นที่ถูกต้อง
            แผ่นหินที่แกะสลักเป็นรูปพระเจ้าองค์เจ้าตื้อแห่งภูพระได้เหลืองอร่ามด้วยแผ่นเปลวที่ผู้คนนำมาปิด ยามลมอ่อนโชยมาเกิดประกายระยิบระยับ อีกทั้งเบื้องหน้าดาด้วยพุ่มบายศรีขนาดเล็ก ที่ชาวบ้านทำมากับมืออย่างง่าย ๆ ด้วยวัสดุที่หาได้ ไม่ว่าจะเป็นใบตองที่นำมาจับพับเป็นรูปเสียงอยู่ด้วยดอกลั่นทมที่เก็บมาจากต้น ซึ่งขึ้นอยู่รอบภูพระ บ้างก็เป็นกระป่องเก่าปักด้วยต้นไม้เงินต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ที่ทำจากกระดาษสา พร้อมผ้าไตรที่นำมากราบกราน เนื่องจากพระเจ้าตื้อเป็นพระต้องมีการบวงสรวงด้วยผ้าไตร
      ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ได้กล่าวไว้ว่า  ถ้าต้องการเลิกพิธีผีฟ้ามีธรรมเนียมอยู่ว่า นางเทียมคนนั้นต้องเข้าไปกราบเครื่องสังเวยอาการสิงก็จะหายไปและกลับคืนเป็นปกติ ยามที่นางเทียมเป็นคนปกติ หากเข้าไปถามถึงเหตุการณ์ตอนที่เข้าทรงผีฟ้าเมื่อสักครู่แล้ว แม้นางเทียมจะทบทวนอยู่นานก็นึกไม่ออกว่าได้พูดอะไรไปบ้าง ปกติปีหนึ่งจะมีการนัดมาฟ้อนผีฟ้าที่หน้าพระเจ้าองค์ตื้อกัน 4 ครั้ง คือ ช่วงเดือน 3 เดือน 5 เข้าพรรษาและออกพรรษา แต่ระหว่างวันขึ้น 13 ถึง 15 ค่ำ เดือน 5 หรือ ช่วงสงกรานต์จะมีมามากเป็นพิเศษ

About the author

Comments

Leave a Reply

Free Web Hosting