ประเพณีเข้าพรรษามีความเป็นมาอย่างไร

| September 24, 2012

ประเพณีเข้าพรรษามีความเป็นมาอย่างไร  เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา (“พรรษา” แปลว่า ฤดูฝน, “จำ” แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) [...]

ความเป็นมาประเพณีสงกรานต์

| September 24, 2012

ความเป็นมาประเพณีสงกรานต์  เป็นประเพณีเดือน 5 ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   วันที่ของเทศกาลเดิมกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน สงกรานต์ตกอยู่ในช่วงที่ร้อนที่สุดของปีในประเทศไทย คือ ปลายฤดูแล้ง จนถึง พ.ศ. 2431 วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นจุดเริ่มต้นของปีในประเทศไทย หลังจากนั้นวันที่ 1 เมษายนถูกใช้เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483 สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี แต่ในปัจจุบัการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามขอประเพณีในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน   พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ   [...]

ประเพณีการขึ้นบ้านใหม่มีวิธีการอย่างไร

| September 24, 2012

ประเพณีการขึ้นบ้านใหม่มีวิธีการอย่างไร เมื่อไม่นานมานี้บ้านผมก็ทำการขึ้นบ้านใหม่เหมือนกันนะครับเเต่ ไม่ได้ทำอะไรมากมายตามพิธีกรรมที่เค้าทำกันหนะครับ ก็เชิญพระมาสวด เเละ เลี้ยงอาหารเพนเท่านั้นเองครับ เเต่ก็ดีนะครับนานๆ เราทำให้ผีบ้านผีเรือนก็ดีเหมือนกันครับ ส่วนพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่เเบบถูกหลักเนี่ย  เป็นประเพณีเก่าแก่พิธีหนึ่ง ที่ชาวบ้านแต่ละท้องถิ่นได้ถือปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณกาล แต่ละท้องถิ่นอาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง ในรายละเอียดปลีกย่อย แต่หลักใหญ่ ๆ แล้วจะไม่แตกต่าง   เมื่อต้นปีที่ผ่านผู้เขียนได้มีโอกาสไปร่วมงานขึ้นบ้านใหม่ของญาติผู้ใหญ่ฝ่ายภรรยา ซึ่งพิธีจะมีแตกต่างจากที่เคยเห็นมาบ้าง น่าจะนำมาเผยแพร่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามนี้ไว้ ให้คงอยู่กับชาวอีสานใต้ของเราสืบไป พิธีทำบุญขึ้บ้านใหม่  เป็นพิธีทำบุญงานมงคลอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการปรารภเหตุดี เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้านและลูกหลานที่จะได้เข้าพักอาศัย มีความอยู่เย็นเป็นสุข เจริญก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ ซึ่งก่อนจะทำบุญเจ้าภาพจะต้องหาฤกษ์ยาม เพื่อให้รู้ว่าวันใดเหมาะที่จะทำพิธี เมื่อได้วันแล้วก็จะนิมนต์พระ เชิญแขก และพ่อพราหมณ์ที่จะมาทำพิธี อีกทั้งเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ ในวันงานดังกล่าง เมื่อถึงเวลา พ่อพราหมณ์ ใส่ชุดสีขาว สพายย่าม ถือไม้เท้าและกั้งร่ม นำขบวนเจ้าของบ้าน ลูก หลาน และแขกแห่รอบบ้านทักษิณาวัฎ ตามขบวนด้วยหาบเงิน หาบทอง เจ้าบ้านเชิญพระพุทธรูปประจำบ้านนำหน้า บางคนถือเสื่อ หมอน และผลหมากรากไม้ ตามขบวนด้วยความสะนุกสนาน ตามด้วยเสียงโห่ร้องกันเป็นระยะ ๆ เมื่อครบ 3 [...]

ความเป็นมาวันลอยกระทงมีความสำคัญอย่างไร

| September 24, 2012

ความเป็นมาวันลอยกระทงมีความสำคัญอย่างไร วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา “มักจะ” ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายนตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ “กระทง” จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น โคมลอยยี่เป็งภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า “ลอยโคม” หรือ “ว่าวฮม” หรือ “ว่าวควัน” ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)จังหวัดเชียงใหม่ มีประเพณี”ยี่เป็ง”เชียงใหม่ ในทุกๆปีจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา และมีการปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้าจังหวัดตาก [...]

ความเป็นมาประเพณีผีตาโขน

| September 24, 2012

ความเป็นมาประเพณีผีตาโขน ไทเลย เป็นชื่อเรียกคนเมืองเลย ในประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า คนเมืองเลยคือกลุ่มชนที่อพยพจากชายแดนตอนเหนืออาณาจักรสุโขทัย ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากไทหลวงพระบาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเซไล (บ้านทรายขาว อำเภอวังสะพุง ปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2396 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านแห่ (บ้านแฮ่ปัจจุบัน) ได้ตั้งบ้านเรือนเรียกว่าเมืองเลย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมืองเลยก็รวมตัวกันเป็นเมืองใหญ่ โดยการรวมตัวของ อำเภอกุดป่องอำเภอท่าลี่ ซึ่งขึ้นกับมณฑลอุดร อำเภอด่านซ้าย ซึ่งขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก เมืองเชียงคาน ซึ่งขึ้นกับเมืองพิชัย อำเภอต่าง ๆ เหล่านี้จึงโอนขึ้นกับเมืองเลยทั้งหมดตั้งแต่ พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา ต้นกำเนิดผีตาโขน ที่มานั้นไม่ชัดเจน แต่กล่าวกันว่าเป็นประเพณีที่ใกล้เคียงกับการบูชาบรรพบุรุษของอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง (ในอดีตแนวเขตแดน ด่านซ้าย เชียงคาน และหล่มเก่า เป็นส่วนหนึ่งในการปกครองของอาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง) ในอีกที่มาหนึ่งกล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่า กลับสู่เมืองบรรดาผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง เรียกกันว่า “ผีตามคน” หรือ “ผีตาขน” จนกลายมาเป็น “ผีตาโขน” อย่างในปัจจุบัน ชนิดของผีตาโขน ผีตาโขน ในขบวนแห่จะแยกเป็น [...]

ปลัดขิกช่วยอะไรได้บ้าง

| September 24, 2012

ปลัดขิกช่วยอะไรได้บ้าง   ปลัดขิกหรือขุนเพ็ดจัดเป็นเครื่องรางของขลังที่ได้รับความนิยมอีกอย่างหนึ่งของคนไทย ปลัดขิกส่วนมากแกะสลักมาจากไม้ที่เชื่อกันว่าเป็นไม้มงคล หรือบางทีอาจทำจาก หิน ทองเหลือง ทองแดง กัลปังหา เขา งา เขี้ยว ของสัตว์ แกะสลักเป็นรูปร่างเหมือนอวัยวะเพศชายแต่ไม่มีหนังหุ้มปลายอวัยวะ มีขนาดต่าง ๆ กันและยาวพอเหมาะกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง เมื่อทำการแกะสลักแล้วก่อนนำมาบูชาเป็นเครื่องรางของขลังจะต้องทำการปลุกเสกโดยผู้มีความรู้ด้านไสยศาสตร์ หรือพระภิกษุ ซึ่งหากทำการปลุกเสกด้วยพระภิกษุเชื่อกันว่าจะได้รับพระพุทธคุณมาด้วย ใน     ปัจจุบันจึงพบว่าปลัดขิกส่วนใหญ่มาจากการปลุกเสกของพระภิกษุ คนไทยส่วนใหญ่เชื่อกันว่าให้คุณแก่ผู้บูชา ส่วนชาวต่างชาติก็ทำเป็นของสะสมส่วนชื่อเรียก ปลัดขิก ไม่มีที่มาปรากฏชัดว่าเหตุใดจึงเรียกเช่นนั้น ส่วนคำว่า ปลัด หมายถึง ตำแหน่งรองจากตำแหน่งที่เหนือกว่า หรือสันนิษฐานว่าพ้องเสียงมาจากคำว่า ปราศวะ ในภาษาสันสกฤต แปลว่าเคียงข้าง เนื่องจากผู้บูชาปลัดขิกนิยมแขวนไว้ที่เอวหรือหากเป็นเด็กจะแขวนที่คอ เมื่อมีผู้พบเห็นแล้วเกิดหัวเราะเสียงดังคล้าย คิกๆคักๆ จึงอาจเพี้ยนมาเป็นปลัดขิก ประวัติ ตามความเชื่อที่เล่าสืบต่อกันมานั้น สันนิษฐานว่าอาจได้รับอิทธิพลมาจากชาวอินเดียในแถบตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 2000 ปีก่อน โดยอาจเกี่ยวข้องกับชาวฮินดูที่นับถือพระอิศวร และบูชาแท่งหินแกะสลักคล้ายอวัยวะเพศชาย เรียกว่า ศิวลึงค์การเริ่มบูชาปลัดขิกนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากการบูชาพระอาทิตย์และพระจันทร์ ซึ่งได้มีการสร้างเสาหินที่ผสมผสานระหว่างรูปร่างของพระอาทิตย์และพระจันทร์เข้าด้วยกัน หากดูผิวเผินจะคล้ายกับอวัยวะเพศชาย จึงเรียกว่า ลึงค์ เมื่อมีความเชื่อเกี่ยวกับพระอิศวรหรือพระศิวะกับพระอุมา [...]

อนุสาวรีย์สามกษัตริย์

| September 24, 2012

อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ พระบรมราชานุสรณ์สามกษัตริย์ ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เดิมพระบรมรูป “สามกษัตริย์” หล่อด้วยทองเหลืองและทองแดงรมดำ มีขนาดเท่าครึ่ง จากพระบาทถึงพระเศียรไม่รวมยอดมงกุฏ มีความสูง ๒๗๐ เมตร ออกแบบและทำการ ปั้นหล่อโดยคุณไข่มุกด์ ชูโต ใช้เวลา ๑๐ เดือน ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์ สามกษัตริย์ จากกรุงเทพมหานครขึ้นประดิษฐานบนแท่นพระบรม ราชานุสาวรีย์ ในวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๖ เวลา ๑๑.๔๙ น. พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ คือ พญามังราย พญาร่วง และพญางำเมือง ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่พระมหากษัตริย์สาม พระองค์มาทรงร่วมกันวางแผนการสร้างเมืองเชียงใหม่ ซึ่งปรากฏคำจารึกฐาน พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ กล่าวคือพญามังรายประสูติ เมื่อปีกุน พ.ศ. ๑๗๘๒ พระองค์ทรงครองเมืองเงินยางเชียงแสนแทนพญาลาวเม็ง พระราชบิดา เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๒ ทรงพระปรีชาสามารถกล้าหาญเป็นเยี่ยมสามารถ รวบรวมแคว้นและเมืองต่างๆ เข้าเป็นอาณาจักรล้านนาไทย และได้ทรงตรากฏหมาย “มังรายศาสตร์” ขึ้นเป็นหลักในการปกครองบ้านเมือง พระองค์ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ [...]

ประเพณีการเกิด

| September 24, 2012

ประเพณีการเกิด        การเกิดเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของมนุษย์ที่มีเพศสัมพันธ์กัน เป็นการสืบทอดเผ่าพันธุ์ ในทางจารึกประเพณีมีการแต่งงานเพื่อใช้ชีวิตร่วมกันเป็นครอบครัวใหม่ และเมื่อถึงระยะหนึ่งก็จะมีสายโลหิตสืบทอดตระกูลคนไทยมีความเกี่ยวกับการเกิดใหม่ของทารกและสืบทอดความเชื่อนั้นจนมาถึงปัจจุบันถึงแม้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ ทำให้ความเชื่อนั้นหมดไป แต่ส่วนหนึ่งก็ยังคงอยู่ โดยเฉพาะในสังคมชนบทเชื่อกันว่าทารกที่มาเข้าท้องของคนที่จะเป็นมารดานั้นเป็นการมาจุติของเทวดา       บางท้องที่จึงห้ามเด็กไม่ให้ชี้หรือทักผีพุ่งไต้ เพราะจะทำให้สิ่งที่จะมาเกิดนั้นไปเกิดในท้องหมา เมื่อมารดาเริ่มตั้งครรภ์จะมีอาการแพ้ท้อง บางคนอยากกินของแปลกๆ เช่น ข้าวดิบ ดินสอพอง คนเฒ่าคนแก่จะแนะนำให้รู้จักรักษาเนื้อรักษาตัวไม่ให้ทำงานหนัก ทำจิตใจให้สบาย ทำบุญตักบาตรทุกวัน เพื่อจะได้อธิษฐานให้ทารกในครรภ์มีอาการครบทั้ง 32 ประการ และเป็นเด็กดี และมีข้อห้าม สำหรับคนท้องหลายประการด้วยกัน เช่น ห้ามอาบน้ำตอนกลางคืน เพราะพรายจะมาเกิดหรือคลอดลูกจะแฝดน้ำ ห้ามคิดถึงลูกในท้องในทางที่ไม่เป็นมงคล ห้ามมองภาพที่ไม่น่าดู น่ากลัว ห้ามไปดูศพคนตาย      ห้ามเตรียมของสำหรับเด็ก ฯลฯ แม้กระทั่งอาหารการกินก็มีข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติหลายอย่าง เช่น คนท้องไม่ควรกินพวก เนื้อ ไข่ อาหารหวาน เพราะจะทำให้คลอดยาก ห้ามกินของเผ็ดจัด เพราะทำให้ลูกหัวล้าน ควรกินข้าวกับปลาเค็ม หรือปลาตัวเล็กๆ และดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนมากๆ เพราะจะทำให้คลอดง่าย เป็นต้นขณะที่ท้องโตใกล้ถึงกำหนดคลอด [...]

ประเพณีการแต่งงานแบบไทย

| September 24, 2012

ประเพณีการแต่งงานแบบไทย     การแต่งงานแบบไทย พิธีการแต่งงานตามธรรมเนียมไทย  การแต่งงานเกิดขึ้นหลังจากที่ฝ่ายชายและหญิงเกิด ความรักใคร่ชอบพอกันในเวลาอันสมควร เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ฝ่ายชายจะบอกกับพ่อแม่ ให้ทราบเพื่อให้จัดการผู้ใหญ่มาทาบทามสู่ขอฝ่ายหญิงจากพ่อแม่ของฝ่ายหญิงในสมัยนี้พิธีการแต่งงาน ได้ถูกตัดทอนย่นย่อลงมาก เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน สิ่งที่สิ้นเปลืองก็ตัดออกไป แต่ยังคงรักษาพิธีการแต่งงานตามธรรมเนียมไทยสืบต่อกันมา การหมั้นหมาย หลักประกันของรักแท้      ตามประเพณีไทยแท้แต่ โบราณนิยมให้คู่รักหมั้นหมายกันสักระยะหนึ่งก่อนแล้วค่อยแต่งงาน เพื่อให้ทั้งสองได้เรียนรู้ ศึกษานิสัยใจคอ และปรับตัวเข้าหากันก่อนการแต่งงาน สำหรับในปัจจุบันมักนิยมรวบวันหมั้นกับวันแต่งไว้ในวันเดียวกัน เพื่อประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และยังไม่ต้องรบกวนให้แขกเดินทางหลายครั้งอีกด้วย ในงานหมั้นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ”ขันหมากหมั้น”เปรียบ ได้กับหนังสือสัญญาระหว่างฝ่ายหญิงกับฝ่ายชาย ส่วนเหตุที่ต้องใช้ “หมาก”เป็นตัวแทนของหนังสือสัญญาก็เพราะในสมัยก่อนหมากพลูเปรียบเหมือน สิ่งแสดงถึงความเคารพและเป็นของต้อนรับแขก เพื่อสื่อถึงความยินดีและแสดงออกถึงน้ำใจไมตรีที่มีต่อกัน ขันหมากแบ่งเป็น 2 ประเภทคือขันหมากเอกและขันหมากโท “ขันหมากเอก”คือ ขันสำหรับใส่หมากพลู วางบนพานรอง จะเป็นเงิน ทอง นาค ทองเหลืองหรือ ถมเงิน แล้วแต่ฐานะของฝ่ายชาย แต่ต้องจัดขันเป็นคู่ๆ ในขันหมากหมั้นประกอบด้วยหมาก 8 ผล ใบพลู 4 เรียง เรียงละกี่ใบก็แล้วแต่ ตกแต่งเพิ่มเติมด้วยใบเงิน ใบทอง [...]

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

| September 24, 2012

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ      ประเพณีผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การนำผ้าผืนยาวขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ในวันสำคัญทางศาสนา ชาวนครได้ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเงินตามกำลังศรัทธานำเงินที่ได้ไปซื้อผ้ามาเย็บต่อกันเป็นแถวยาวนับพันหลา แล้วจัดเป็นขบวนแห่ผ้าขึ้นห่มพระบรมธาตุเจดีย์ ผ้าที่ขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เรียกว่า “ผ้าพระบฎ” (หรือ พระบต) นิยมใช้สีขาว สีเหลือง สีแดง สำหรับผ้าสีขาวนิยมเขียนภาพเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ เสด็จออกบรรพชา ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นเอกลักษณ์ประจำเมือง     นครศรีธรรมราช แก่นแท้อยู่ที่การบูชาพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด โดยใช้องค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นตัวแทนตามตำนานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุมีว่า ในสมัยที่พระเจ้าสามพี่น้อง คือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ กำลังดำเนินการสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น คลื่นได้ซัดผ้าแถบยาวชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีลายเขียนเรื่องราวพุทธประวัติ (เรียกว่า พระบฎ หรือ พระบต) ขึ้นที่ชายหาดปากพนัง       จึงนำผ้าผืนนั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระองค์จึงรับสั่งให้ซักจนสะอาด แต่ลายเขียนพุทธประวัติก็ไม่ลบเลือนยังคงสมบูรณ์ดีทุกประการ จึงรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ได้ความว่าชาวพุทธกลุ่มหนึ่ง จะเดินทางไปลังกา เพื่อนำพระบฎไปถวายเป็นพุทธบูชาพระทันตธาตุ คือ พระเขี้ยวแก้ว แต่เรือถูกมรสุมซัดแตกที่ชายฝั่งเมืองนครมีรอดชีวิต 10 คน ส่วนพระบฏถูกคลื่นซัดขึ้นฝั่งปากพนัง [...]

Free Web Hosting