ประเพณีกินเจมีความสำคัญอย่างไร

| September 24, 2012

ประเพณีกินเจมีความสำคัญอย่างไร    คำว่า เจ ในภาษาจีนทางพุทธศาสนานิกายมหายานมีความหมายเดียวกับคำว่า อุโบสถ ดังนั้นการกินเจก็คือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน เหมือนกับที่ชาวพุทธในประเทศไทยที่ถืออุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 โดยไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว         แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีลของชาวพุทธนิกายมหายานที่ไม่กินเนื้อสัตว์จึงนิยมนำการไม่กินเนื้อสัตว์ไปรวมกันเข้ากับคำว่ากินเจ กลายเป็นการถือศีลกินเจ ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่ากินเจ ฉะนั้นความหมายก็คือคนกินเจมิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์        แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจจุดประสงค์ของการกินเจ1. กินเพื่อสุขภาพ อาหารเจเป็นอาหารประเภทชีวจิต เมื่อกินติดต่อกันไปช่วงเวลาหนึ่งจะทำให้ร่างกายเกิดการปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล สามารถขับพิษของเสียต่างๆ ออกจากร่างกายได้ ปรับระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินอาหารให้มีเสถียรภาพ2. กินด้วยจิตเมตตา          เนื่องจากอาหารที่เรากินอยู่ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยเลือดเนื้อของสรรพสัตว์ ผู้มีจิตเมตตา มีคุณธรรมและมีจิตสำนึกอันดีงามย่อมไม่อาจกินเลือดเนื้อของสัตว์เหล่านั้นซึ่งมีเลือดเนื้อ จิตใจและที่สำคัญมีความรักตัวกลัวตายเช่นเดียวกับคนเรา3. กินเพื่อเว้นกรรม ผู้ที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งย่อมตระหนักว่าการกินซึ่งอาศัยการฆ่าเพื่อเอาเลือดเนื้อผู้อื่นมาเป็นของเราเป็นการสร้างกรรม แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ลงมือฆ่าเองก็ตาม การซื้อจากผู้อื่นก็เหมือนกับการจ้างฆ่าเพราะถ้าไม่มีคนกินก็ไม่มีคนฆ่ามาขาย         [...]

ประเพณีการเดินเต่า

| September 24, 2012

ประเพณีการเดินเต่า      ช่วงเวลา เวลาที่เต่าทะเลหลายชนิดขึ้นมาวางไข่บนหาด เมื่อถึงฤดูวางไข่คือประมาณ เดือน ๑๑ แรม ๑ ค่ำ ราวปลายเดือนตุลาคม หรือต้นเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือน ๔ ราว ๆ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนก่อนหรือหลังเวลาที่ว่ามานี้มีบ้างเล็กน้อย ความสำคัญประเพณีการเดินเต่า คือการเดินหาเต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่บนหาดทราย ซึ่งแหล่งที่มีการเดินเต่าทางภาคใต้นั้นมีหลายแหล่ง โดยเฉพาะบริเวณที่มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่คือบริเวณชายฝั่ง แถวฝั่งทะเลด้านตะวันตก หรือชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ ทางตะวันตกของจังหวัดพังงา ซึ่งเป็นหาดทรายที่มีความยาวโดยตลอดร่วม ๑๐๐ กิโลเมตร ซึ่งในบริเวณชายฝั่งทะเลนั้น      จะมีเต่าทะเลหลายชนิดขึ้นมาวางไข่บนหาดทราย เมื่อถึงฤดูวางไข่ ชนิดของเต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่ตามชายฝั่งตะวันตกนี้มีหลายชนิด ซึ่งชาวบ้านเรียกกันหลายชื่อได้แก่ เต่ากระ เต่าเฟือง เต่าเล็ก เต่าหางยาว เป็นต้นในแต่ละปีเต่าทะเลแต่ละชนิดจะขึ้นมาวางไข่ ๔ ครั้ง การวางไข่ของเต่าทะเลนั้นมีนิสัยที่แปลกประหลาดและน่าสนใจกว่าสัตว์อื่น ๆ ตรงที่จะขึ้นมาวางไข่ประจำที่หรือประจำหาด       ทั้ง ๆ ที่ทะเลนั้นกว้างใหญ่ไพศาล เป็นต้นว่าเต่าทะเลตัวใด ที่ขึ้นมาวางไข่ที่หาดไหนคราวต่อไปก็ขึ้นมาวางไข่ตรงที่หาดนั้นทุกครั้งไป [...]

ประเพณีผูกเสี่ยว

| September 24, 2012

ประเพณีผูกเสี่ยว เสี่ยว แปลว่า “เพื่อนหรือเกลอ” คำว่า ผูกเสี่ยว มีความหมายว่า การผูกมิตรหรือการเป็นเพื่อนกัน เสี่ยว อาจจะเป็นบุคคลต่างเพศกันก็ได้ ถ้าหากมีความประสงค์จะเป็นเสี่ยวกัน ถ้ายิ่งเกิดเดือน วัน และเวลาเดียวกันก็จะเป็นการดี แก่กว่า หรืออ่อนกว่าจะไม่นิยมใช้คำนี้ สำหรับพิธีกรรมในการปฏิญาณเป็นเสี่ยวสำหรับชาวบ้านทั่วไป ในภาคเหนือปัจจุบันนี้ไม่ ค่อยปรากฏ เมื่อเป็นสหชาติ (เกิดร่วมปีเดียวกัน) ได้มีโอกาสคบหาสมาคมโดยอยู่ใกล้ชิดสนิทสนม ทำงาน ร่วมกันหรือเดินทางไปประกอบอาชีพด้วยกัน มีความรักใคร่ชอบพอกันเป็นพิเศษถึงขั้นไว้เนื้อเชื่อใจกันแล้ว ก็อาจพูดตกลงกันโดยปากเปล่า ไม่มีพิธีกรรมใดๆ ประกอบก็ได้ เช่นเดียวกับทางภาคอีสาน ก็ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว อาจจะเริ่มต้น จากวิธีง่ายที่สุด คือ เมื่อมีความตั้งใจจริงต่อกัน มีความถูกอกถูกใจซึ่งกันและกัน หรือจิตใจตรงกัน ทั้งสองฝ่ายก็ทำความตกลงลั่นวาจาหรือแสดงออกถึงเจตนาที่จะเป็นเสี่ยวกันได้เลย ภาคกลาง ชาวไทยภาคกลางโดยทั่วไปมักจะใช้คำว่าเพื่อน แต่บางท้องที่ เช่น ทางภาค กลางตอนบน เช่น จังหวัดตาก เพชรบูรณ์ พิษณุโลก มีการใช้คำว่าเสี่ยว หรือ เกลอ ปะปนกันอยู่บ้าง แต่ถ้า จะให้มีน้ำหนักมีความหมายเสมอกับคำว่าเสี่ยวแล้ว ก็คงใช้คำว่า เพื่อนร่วมน้ำสาบาน [...]

ประเพณีการเทศน์มหาชาติ

| September 24, 2012

ประเพณีการเทศน์มหาชาติ          ประเพณีการเทศน์มหาชาติ เป็นประเพณีทางศาสนาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านาน นับเนื่องขึ้นไปถึงก่อนสมัยสุโขทัย  เหตุที่ประเพณีเทศน์มหาชาติแพร่หลายและดำรงอยู่ในสังคมไทยก็เพราะความเชื่อที่ว่าการฟังเทศน์มหาชาติให้ครบ ๑๓ กัณฑ์ในวันเดียวจะทำให้ได้อานิสงส์ไปเกิดในยุคพระศรีอาริยเมตไตรย           ซึ่งชาวพุทธส่วนใหญ่จะมีความเชื่อว่าพระพุทธศาสนาของพระสมณโคดมจะถึงกาลเสื่อมสูญเมื่อมีอายุครบ ๕,๐๐๐ ปี  หลังจากนั้นพระศรีอาริยเมตไตรยจะมาอุบัติในโลก     ประเพณีเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีสำคัญทั้งประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ ในด้านประเพณีหลวงนั้นจะถือว่าเป็นพระราชพิธีใหญ่ของราชสำนัก  พระมหากษัตริย์จะทรงอุปถัมภ์และดูแลการเทศน์มหาชาติ  โดยจัดให้มีการเทศน์ในพระบรมมหาราชวัง  มีวรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการเทศน์มหาชาติโดยเฉพาะ  เช่นเดียวกับชาวบ้านก็จะมีมหาชาติฉบับท้องถิ่นต่าง ๆเป็นของตนเอง  ทำให้การเทศน์มหาชาติของแต่ละท้องถิ่นได้ผสานความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นเข้ามาด้วย  อย่างไรก็ตามลักษณะร่วมกันของประเพณีเทศน์มหาชาติของท้องถิ่นต่าง ๆ ก็คือการเชื่อในเรื่องอานิสงส์ของการเทศน์มหาชาติ   การเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีของชุมชน  ซึ่งต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจและศรัทธาของชุมชนเป็นหลัก  เมื่อทางวัดดำริจะจัดงานเทศน์มหาชาติจึงจำเป็นต้องปรึกษาหารือกับคณะศรัทธาของวัด  เมื่อเห็นพ้องต้องกันจึงจัดหาผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ  บางแห่งก็ร่วมมือกันหลายคนเป็นเจ้าภาพกัณฑ์ใดกัณฑ์หนึ่ง  ดังนั้นการเทศน์มหาชาติในชุมชนต่างๆ  จึงแสดงให้เห็นถึงความสามัคคี  ความยินดีปรีดาที่จะได้รื่นเริงร่วมกัน  การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเพราะเป็นการรวมญาติพี่น้อง และสร้างความปรองดองระหว่างกัน  ตลอดจนเป็นการสร้างกุศลร่วมกันเพื่อเป็นเนื้อนาบุญสืบต่อมายังลูกหลาน         ปัจจุบันการเทศน์มหาชาติได้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก  แม้ว่าจะคงมีการจัดงานเทศน์มหาชาติอยู่อย่างต่อเนื่องก็ตาม  ท้องถิ่นบางแห่งได้จัดงานเทศน์มหาชาติจนกลายเป็นงานสำคัญของจังหวัด เช่น จังหวัดร้อยเอ็ดกับจังหวัดเลย [...]

ประเพณีไทยเลี้ยงผี

| September 24, 2012

ประเพณีไทยเลี้ยงผี           ประเพณีเลี้ยงผี เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวเมืองลำปาง  โดยจะจัดให้มีขึ้นระหว่างเดือน 6 เหนือ (ตรงกับเดือน 4 ของไทยภาคกลาง) จนถึงเดือน 8 ของทุก ๆ ปี เพื่อทำพิธีเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว                          เมื่อถึงวันทำพิธี ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวและญาติมิตรก็จะนำเครื่องอุปโภคบริโภค เช่น ดอกไม้ ธูปเทียน หมู เป็ด ไก่ ขนมและอาหารอื่น ๆ ไปถวายผีบรรพบุรุษของตน          โดยจะทำพิธีแยกออกเป็น 2 แบบ คือการเลีย้งผีผู้ที่ตายไปแล้ว โดยการฟ้อนรำอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ผีมด” และ”ผีเม้ง”   [...]

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

| September 24, 2012

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง จัดให้มีขึ้นในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ณ วัดคลองครุ จังหวัดสมุทรสาคร ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวรามัญ ปฏิบัติเพื่อเป็นการบูชาพระสงฆ์การตักบาตรน้ำผึ้งนั้นชาวรามัญเชื่อว่ามีอานิสงส์มาก พระสงฆ์จะเก็บน้ำผึ้งไว้เพื่อใช้เป็นยาในคราวจำเป็นเพราะเป็นส่วนผสมของยาโบราณที่สำคัญ พระสงฆ์ไม่สามารถจัดหามาเองได้ ชาวบ้านจึงจัดให้มีการตักบาตรน้ำผึ้งขึ้น ความเชื่อในเรื่องการถวายน้ำผึ้งแก่พระภิกษุสงฆ์แล้วได้อานิสงส์มากนั้น สืบเนื่องมาจาก ตำนานที่ว่า ในสมัยพระทีปังกรพุทธเจ้า มีพระปัจเจกโพธิรูปหนึ่งอาพาธ ประสงค์ที่จะได้น้ำผึ้งมาผสมโอสถ เพื่อบำบัดอาการอาพาธ วันหนึ่งได้ไปบิณฑบาตในชนบทใกล้ชายป่า ขณะที่พระปัจเจกโพธิกำลังโปรดสัตว์อยู่นั้น ได้พบชายชาวบ้านป่า เกิดกุศลจิตขึ้นกับชายผู้นั้นหวังที่จะถวายทานแด่พระปัจเจกโพธิ แต่ด้วยตนเองยากจนไม่มีอาหารอื่นใดจะถวายพระนอกจากน้ำผึ้งจำนวนหนึ่ง ด้วยจิตศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นและสูงส่งของชายผู้นั้นเมื่อรินน้ำผึ้งลงในบาตรของพระปัจเจกโพธิ เกิดปรากฏการณ์อัศจรรย์คือ น้ำผึ้งเกิดเพิ่มพูนขึ้นจนเต็มบาตรและล้นบาตรในที่สุด ขณะนั้นมีหญิงชาวบ้านคนหนึ่งกำลังทอผ้าเห็นน้ำผึ้งล้นบาตร ด้วยจิตศรัทธาในพระปัจเจกโพธิ เกรงว่าน้ำผึ้งจะเปื้อนมือพระ จึงรีบนำผ้าที่ทอแล้วถวายแด่พระปัจเจกโพธิ เพื่อซับน้ำผึ้งที่ล้นนั้น ชายผู้นั้นอธิษฐานด้วยอานิสงส์แห่งการถวายน้ำผึ้งเป็นทานขอเป็นพลังปัจจัยให้ได้เกิด เป็นผู้มั่งคั่งเป็นผู้มีอำนาจส่วนหญิงที่ถวายผ้าได้อธิษฐานขอให้ได้เกิดเป็นผู้ที่มีความงามและมีโภคยทรัพย์ต่อมาเมื่อทั้งสองมรณะแล้วได้อุบัติใหม่ในโลกมนุษย์ชายผู้ถวายน้ำผึ้งได้บังเกิดเป็นพระราชาผู้มีความเข้มแข็ง และมั่งคั่งส่วนหญิงผู้ถวายผ้าได้บังเกิดเป็นธิดาของพระราชาอีกเมืองหนึ่ง มีความงามและความมั่งคั่งเช่นกัน นอกจากนี้อานิสงส์ของการถวายน้ำผึ้งนี้มีตำนานที่เกี่ยวกับพระฉิมพลี หรือพระสิวลีอีกทาง หนึ่งว่าในอดีตกาลครั้งที่มีพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า \”พระวิปัสสี\” พระสิวลีได้ถือกำหนดเป็นชาวบ้านนอก ในชนบท วันหนึ่งได้ไปในเมืองระหว่างทางกลางป่านั้นได้พบรวงผึ้ง จึงไล่ตัวผึ้งให้หนีไปแล้วตัดกิ่งไม้ถือรวง ผึ้งเข้าไปในเมืองในพระนครขณะนั้นพระราชาและชาวเมืองกำลังแข่งกันทำบุญถวายทานแด่พระวิปัสสี สัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ โดยจัดสรรสิ่งของวัตถุทานอันประณีตถวาย ถวายแข่งกันถึง ๖ ครั้ง ก็ไม่มีใครแพ้ใครชนะชาวเมืองจึงช่วยกันตรวจดูสิ่งของวัตถุทานที่ถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้าว่าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งบ้างพร้อมทั้งให้คนไปดูที่ประตูเมืองว่าจะมีใครนำสิ่งของอันนอกเหนือจากที่มีอยู่มาขายบ้าง [...]

ธรรมเนียมประเพณีวันขึ้นปีใหม่ไทย

| September 24, 2012

ธรรมเนียมประเพณีวันขึ้นปีใหม่ไทย ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่ ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า “ปี” ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคมครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทาง สุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 [...]

ประเพณีตำนานประเพณีพ้อต่อ

| September 24, 2012

ประเพณีตำนานประเพณีพ้อต่อ           ประเพณีไทยตำนานประเพณีพ้อต่อในช่วงสารทจีน พี่น้องชาวภูเก็ตเชื้อสายจีน ต่างก็พากันกราบไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และบรรดาผีไม่มีญาติ (เชื่อกันว่าเป็นวันที่วิญญาณได้รับการปลดปล่อย ให้กลับมาเยี่ยมเยียนบ้าน และญาติพี่น้อง) สำหรับวันสารทจีน หรือที่เรียกกันว่าไหว้กับข้าว ที่บางเหนียวและตลาดสด (บ้านซ่าน) ก็จะมีการจัดงานพ้อต่อ ซึ่งเป็นเทศกาลที่จัดสืบต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย โดยจัดเป็นเทศกาล ที่สนุกสนาน น่าเที่ยวอีกเทศกาลหนึ่งของภูเก็ต และจากการค้นคว้าหาข้อมูล ตามหนังสือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเพณีในภูเก็ต ก็พอที่จะได้ข้อมูลคร่าวๆ มาให้ได้อ่านกัน ดังนี้ ประเพณีพ้อต่อเป็นประเพณีที่มีขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ตามปฏิทินจีน เพื่อบูชา และเซ่นไหว้บรรพบุรุษ รวมถึงบรรดาผีไม่มีญาติ ประเพณีนี้เป็นประเพณีที่เกิดขึ้น และปฏิบัติต่อกันมานานแล้ว จึงไม่อาจระบุแน่ชัดได้ว่าเริ่มขึ้นเมื่อใด หากแต่พอจะทราบว่า เป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า ในเดือนเจ็ด เริ่มตั้งแต่เวลาหลังเที่ยงคืน ของวันที่สามสิบ เดือนหกนั้น ประตูผีจะเปิดออก เหล่าดวงวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับที่อยู่ในเมืองผี จะกลับมาเยี่ยม โลกมนุษย์ และดวงวิญญาณเหล่านี้ จะท่องเที่ยวอยู่ในโลกมนุษย์เป็นเวลา 1 เดือนเต็ม   [...]

ประเพณีดอกคูณเสียงแคน

| September 24, 2012

ประเพณีดอกคูณเสียงแคน เทศกาลดอกคูณเสียงแคน เทศกาลดอกคูณเสียงแคน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 -15 เมษายน ของทุกปี บริเวณบึงแก่นนคร ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และชุมนุมสังสรรค์ของชาวขอนแก่น ช่วงเวลา จะจัดในช่วงระเทศกาล ประเพณี ประจำปี หว่างวันที่ 13 – 15 เมษายนของทุกปี ความสำคัญ เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อชุมนุมสังสรรค์ของชาวขอนแก่น ในงานนี้จะตกแต่งด้วยดอกไม้หลากสี เพื่อประกวดความสวยงามและแนวคิดสร้างสรรค์ จุดเด่นของงานจะเป็นความงามของขบวนรถบุปผาชาติเสียงเพลงและสาวงามงานเทศกาลไหมและประเพณีผูกเสี่ยว งานเทศกาลไหมและประเพณีผูกเสี่ยวจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ถึงต้นเดือนธันวาคม เป็นเวลา 10 วัน 10 คืน บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัด ช่วงเวลา จะจัดเป็นประจำทุก ๆ ปี ในระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึง 10 ธันวาคม ความสำคัญ ประเพณีผูกเสี่ยวเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวอีสาน ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ คำว่า “เสี่ยว” หมายถึงเพื่อนรัก เพื่อนสนิท ที่เกื้อกูลและเอื้ออาทรต่อกัน ร่วมสุขร่วมทุกข์ เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันเหมือนญาติสนิท บางทีเรียกว่า “เพื่อนตาย” [...]

ประเพณียี่เป็งมีความสำคัญอย่างไร

| September 24, 2012

ประเพณียี่เป็งมีความสำคัญอย่างไร ประเพณี  ”ยี่เป็ง” เป็นประเพณีลอยกระทงตามประเพณีล้านนาที่จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน  2 ของชาวล้านนา เป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า “ยี่” แปลว่า สอง และคำว่า “เป็ง” มีควาหมายตรงกับคำว่า  ”เพ็ญ”   หรือพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งชาวไทยในภาคเหนือจะนับเดือนทางจันทรคติเร็วกว่าไทยภาคกลาง 2 เดือน ทำให้เดือนสิบสองของไทยภาคกลาง ตรงกับเดือนยี่หรือเดือน  2   ของไทยล้านนา    ประเพณียี่เป็งจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ  ซึ่งถือว่าเป็น  ”วันดา”หรือวันจ่ายของเตรียมไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ครั้นถึงวันขึ้น 14 ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยและผู้มีศรัทธาก็จะพากันไปถือศีลฟังธรรมและทำบุญเลี้ยงพระที่วัดมีการทำกระทงขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด  ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็นทานแก่คนยากจนครั้นถึงคืนวันขึ้น 15  ค่ำ  จึงนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็กของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ   ในงานบุญยี่เป็งนอกจากจะมีการปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่างๆ แล้วยังมีการประดับตกแต่งวัดบ้านเรือนและถนนหนทางด้วย ต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้  ตุงช่อประทีปและชักโคมยี่เป็งแบบต่างๆขึ้นเป็นพุทธบูชาพอตกกลางคืนจะมีมหรสพและการละเล่นมากมายมีการแห่โคมทอง  พร้อมกับมีการจุดถ้วยประทีป (การจุดผางปะติ๊ด) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย     การจุดบอกไฟการจุดโคมประดับตกแต่งตามวัดวาอารามและการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี [...]

Free Web Hosting